...

รับว่าความ คดีอาญา คดีแพ่ง คดีปกครอง คดีทั่วไป รับทำบัญชี ทั่วราชอาญาจักร
ติตต่อ เบอร์โทร 0-2513-1833
แฟกซ์ 0-2930-2752
อีเมล์แอดเดรส
sutthirojlaw@hotmail.com

วันอาทิตย์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2553

กอล์ฟ ทุนวัฒนธรรม และเศรษฐกิจฟองสบู่

ในขณะที่การขยายตัวของจักรวรรดิอังกฤษเป็นคลื่นลูกที่หนึ่ง และการก่อตัวของทุนวัฒนธรรมเป็นคลื่นลูกที่สอง ที่กระทบต่อกระบวนการสากลานุวัตร ของกีฬากอล์ฟ เศรษฐกิจฟองสบู่เป็นคลื่นลูกที่สามที่ทำให้สายธารของกระแสสากลานุวัตรไม่ขาดตอน

ในขณะที่คลื่นลูกแรกมีศูนย์อยู่ที่เกาะอังกฤษ คลื่นลูกที่สองอยู่ที่สหรัฐ อเมริกา คลื่นลูกที่สามก่อตัวที่เกาะญี่ปุ่น

ชาวญี่ปุ่นรู้จักการเล่นกอล์ฟมาเป็นเวลาช้านาน สนามกอล์ฟแห่งแรกสร้างขึ้นในเมืองโกเบในปีค.ศ.1903 สิบปีต่อมามีสนามกอล์ฟอีกแห่งผุดขึ้นในเมืองโตเกียว ก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นมีสนามกอล์ฟเพียง 23 แห่ง ความจำกัดของที่ดินเป็นข้อจำกัดในการสร้างสนามกอล์ฟ เมื่อญี่ปุ่นแพ้สงคราม และตกอยู่ใต้การปกครองของกองทัพอเมริกัน ด้วยเหตุที่ทหารอเมริกันเลือกพักผ่อนด้วยการเล่นกอล์ฟ จึงมีการสร้างสนามกอล์ฟเพิ่มขึ้นในปีค.ศ.1956 ญี่ปุ่น มีสนามกอล์ฟ 72 แห่ง

ญี่ปุ่นเร่งสร้างชาติขนานใหญ่ เพื่อเยียวยาบาดแผลสงครามและฟื้นฟูเศรษฐกิจ เพียงทศวรรษ 1970 ญี่ปุ่นก็สามารถแสดงความเกรียงไกรทางเศรษฐกิจได้ และอีกทศวรรษต่อมา ญี่ปุ่นก็เขยิบขึ้นเป็นประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ Japan as Number One เป็นตราประทับที่นักวิชาการชาวอเมริกันมอบให้ ชาวญี่ปุ่นกลายเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่ทำงานชนิดหามรุ่งหามค่ำ ในทศวรรษ 1980 ชาวญี่ปุ่นทำงานถัวเฉลี่ยคนละ 2,168 ชั่วโมงต่อปี ซึ่งสูงกว่าคนงานในประเทศอุตสาหกรรมอื่นๆ คนละ 200-500 ชั่วโมงต่อปี คนงานชาวญี่ปุ่นทำงานล่วงเวลา (overtime) ถัวเฉลี่ยคนละ 190 ชั่วโมงต่อปี และมีคนงานเพียง 20% เท่านั้นที่มีวันหยุดสัปดาห์ละ 2 วัน คนญี่ปุ่นจำนวนไม่น้อย ตายอย่างเฉียบพลันในขณะทำงาน ส่วนใหญ่เป็นโรคเครียด มีอาการผิดปกติทางประสาท และความดันโลหิตสูง แม้ประชาชนชาวญี่ปุ่นจะมีสิ่งอำนวยความสะดวกนานาชนิด แต่การขาดที่อยู่อาศัยยังคงเป็นปัญหาใหญ่ เนื่องจากที่ดินมีราคาแพง เมืองอยู่กันอย่างแออัด สวนสาธารณะและที่พักผ่อนหย่อนใจมีไม่พอเพียง สำหรับประชาชนชาวญี่ปุ่น แม้ชีวิตเศรษฐกิจรุ่งโรจน์ แต่ชีวิตสังคมเสื่อมทราม

ผู้นำญี่ปุ่นเริ่มตระหนักถึงปัญหาที่ประชาชนไม่มีชีวิตทางวัฒนธรรม ดุจเดียวกับประชาชนในประเทศอุตสาหกรรมอื่นๆ มีความพยายามที่จะปรับปรุง ชีวิตทางวัฒนธรรมของประชาชนญี่ปุ่นด้วยการลดจำนวนชั่วโมงการทำงาน กระจายประชาชนเพื่อลดความแออัดในเมือง และจัดสรรสถานที่พักผ่อนหย่อนใจที่เสียต้นทุนต่ำ โดยที่การส่งเสริมสถานตากอากาศ (resort) เป็นมาตรการหนึ่งในการนี้

ภายหลังจากที่ญี่ปุ่นได้อธิปไตยกลับคืนมาในปี ค.ศ.1951 ธุรกิจสนามกอล์ฟมีระลอกการเติบใหญ่อยู่ 3 ระลอก ระลอกแรก เมื่อญี่ปุ่นเป็นเจ้าภาพกีฬาโอลิมปิก ในปี ค.ศ.1964 จำนวนสนามกอล์ฟเพิ่มจาก 195 แห่งในปี ค.ศ.1960 เป็น 424 แห่งในปี ค.ศ.1964 การขยายตัวในระลอกนี้ เป็นผลจากการเติบโตทางเศรษฐกิจ และชาวญี่ปุ่นนิยมเล่นกอล์ฟมากขึ้น ระลอกที่สอง เกิดขึ้นในยุคนายกรัฐมนตรีกากูเออิ ทานากะ (Kakuei Tanaka) ประมาณปี ค.ศ.1972 เมื่อรัฐบาลญี่ปุ่นทุ่มการใช้จ่ายด้านโครงสร้าง พื้นฐานทางเศรษฐกิจ (infrastructure) ซึ่งก่อให้เกิดการทำลายสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ และการเก็งกำไรซื้อขายที่ดิน ในช่วงนี้ สนามกอล์ฟเพิ่มเป็นประมาณ 1,000 แห่ง ระลอกที่สาม เกิดขึ้นในยุคนายกรัฐมนตรียาซูฮิโร นากาโซเนะ (Yasuhiro Nakasone) เมื่อมีการตรากฎหมาย Resort Region Provision Law หรือเรียกย่อๆ ว่า Resort Law ในปี ค.ศ.1987

กฎหมายสถานตากอากาศ (Resort Law) มีวัตถุประสงค์ที่จะส่งเสริมการสร้างสถานพักฟื้นสุขภาพ (Health Resort) ทั่วประเทศญี่ปุ่น โดย ไม่เพียงแต่จะได้สิทธิประโยชน์ทางด้านภาษีอากรด้วยการยกเว้น และลดหย่อนภาษีอากรบางประเภทเท่านั้น หากยังได้รับอนุญาตให้นำที่ดินการเกษตรและป่าสงวนมาสร้างสนามกอล์ฟอีกด้วย ก่อนหน้านี้ เมื่อมีการปฏิรูปที่ดินในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง มีกฎหมายห้ามนำที่ดินการเกษตรไปประกอบการด้านอื่น นอกจากนี้ หลังจากยุครัฐบาลทานากะที่มีการโค่นป่าเพื่อสร้างสนามกอล์ฟ จำนวนมาก รัฐบาลญี่ปุ่นเริ่มเข้มงวดในการอนุญาตให้สร้างสนามกอล์ฟในเขตป่าสงวน แต่กฎหมายสถานตากอากาศทำให้ข้อห้าม และความเข้มงวดเหล่านี้หมดสิ้นไป ยิ่งเมื่อรัฐบาลนายนากาโซแนะนำที่ราชพัสดุรอบๆ นครโตเกียวออกขายด้วยแล้ว ก็เป็นการจุดปะทุให้มีการเก็งกำไรซื้อขายที่ดิน

สิ่งจูงใจที่ปรากฏในกฎหมายสถานตากอากาศได้ดูดดึงธุรกิจจำนวนมากเข้ามาหาผลประโยชน์ ไม่จำเพาะแต่ ธุรกิจก่อสร้างและธุรกิจสนามกอล์ฟ หากยังครอบคลุมถึงธุรกิจโรงแรม ธุรกิจธนาคาร ธุรกิจบริษัทการค้า และธุรกิจต่อเรือ ในเวลาไม่ช้าไม่นานนัก สนามกอล์ฟก็ผุดขึ้นเป็นจำนวนมาก แต่สนามกอล์ฟที่ผุดขึ้นมิใช่เพียงด้วยสิ่งจูงใจทางเศรษฐกิจที่กฎหมายตากอากาศเกื้อกูลให้เท่านั้น หากยังเป็นเพราะเหตุปัจจัยอื่นๆ อีกด้วย

เหตุปัจจัยด้านแรก ได้แก่ ความต้องการแสวงหาส่วนเกินทางเศรษฐกิจของนักการเมืองและข้าราชการ สนามกอล์ฟเป็นธุรกิจการเมืองประชาชน ชาวญี่ปุ่นต่อต้านการสร้างสนามกอล์ฟด้วยความรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพราะการสร้างสนามกอล์ฟไม่เพียงแต่กระทบต่อการประกอบการเกษตร เนื่องจากมีการกว้านซื้อที่ดินการเกษตรไปสร้างสนามกอล์ฟเพิ่มขึ้นเท่านั้น หากยังมีผลในการทำลายป่าอีกด้วย เมื่อป่าไม้ถูกโค่นเพื่อสร้างสนามกอล์ฟ ความ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

คำแนะนำในการแสดงความคิดเห็น

เชิญให้ความคิดเห็นได้ครับ
แล้วกรุณา ลงชื่อท่านใต้ข้อความของท่านด้วยนะครับ
แล้วเลือก แสดงความคิดเห็นในฐานะ
เป็นประเภท "ไม่ระบุชื่อ"
ท่านจึงจะสามารถแสดงความคิดเห็นได้