...

รับว่าความ คดีอาญา คดีแพ่ง คดีปกครอง คดีทั่วไป รับทำบัญชี ทั่วราชอาญาจักร
ติตต่อ เบอร์โทร 0-2513-1833
แฟกซ์ 0-2930-2752
อีเมล์แอดเดรส
sutthirojlaw@hotmail.com

วันอังคารที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ประโยชน์ของ CSR

องค์กรที่นำแนวคิดซีเอสอาร์ไปปฏิบัติ จะเกิดผลลัพธ์ทั้งในส่วนรูปธรรมที่จับต้องได้ (Tangible) และในส่วนนามธรรมที่จับต้องไม่ได้ (Intangible) จากผู้ที่อยู่ในองค์กร ได้แก่ ผู้ถือหุ้นและพนักงาน และจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับองค์กรโดยตรงและโดยอ้อม ดังนี้
ประโยชน์ที่เป็นรูปธรรม
ในแง่ของผู้ถือหุ้นหรือเจ้าของกิจการ ราคาหุ้นมีเสถียรภาพและมีส่วนล้ำมูลค่าหุ้นในอัตราที่สูงกว่าเกณฑ์เฉลี่ย เนื่องจากเป็นที่ต้องการของนักลงทุน ปัจจุบัน เม็ดเงินลงทุนในธุรกิจที่มีซีเอสอาร์ ซึ่งเรียกกันเฉพาะว่า SRI (Social Responsibility Investing) นั้น มีมูลค่าเกิน 2 ล้านล้านเหรียญ และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เป็นโอกาสที่องค์กรสามารถเข้าถึงแหล่งทุนได้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะทำให้ต้นทุนทางการเงินมีแนวโน้มที่ต่ำกว่าเกณฑ์ปกติของตลาด
ในแง่ของพนักงาน เกิดความภาคภูมิใจในการทำงานร่วมกับองค์กร ได้รับความสุขจากการปฏิบัติงานในหน้าที่ นอกเหนือจากผลตอบแทนในรูปตัวเงิน ทำให้องค์กรสามารถที่จะรักษาพนักงานที่มีความสามารถไว้ และในขณะเดียวกัน ก็สามารถที่จะชักชวนบุคลากรที่มีคุณภาพและเป็นที่ต้องการ ให้เข้ามาทำงานกับองค์กรได้
องค์กรสามารถสร้างรายได้และส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้น จากการที่ลูกค้าพิจารณาเลือกซื้อสินค้าและบริการจากองค์กรที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม และไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม เช่น การส่งเสริมการขายด้วยการบริจาครายได้ส่วนหนึ่งต่อทุกๆ การซื้อผลิตภัณฑ์ในแต่ละครั้ง ให้แก่หน่วยงานหรือมูลนิธิที่ช่วยเหลือสังคมในด้านต่างๆ ฯลฯ
องค์กรยังสามารถที่จะลดรายจ่ายของกิจการ จากการดำเนินกิจกรรมซีเอสอาร์ ตัวอย่างเช่น โรงไฟฟ้ารณรงค์ให้ประชาชนประหยัดพลังงานเพื่อที่จะได้ไม่ต้องลงทุนสร้างโรงไฟฟ้าหรือหาแหล่งพลังงานทดแทนแห่งใหม่ หรือ การลดงบประมาณใช้จ่ายด้านโฆษณาในการเปิดตัวสินค้าแปรรูปของบริษัทแห่งหนึ่ง ที่มีส่วนช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับความเดือดร้อนจากผลผลิตที่ล้นตลาด โดยได้รับการสนับสนุนด้านประชาสัมพันธ์จากหลายภาคส่วนในสังคม เปรียบเทียบกับงบโฆษณาสินค้าที่ไม่มีส่วนประสมของซีเอสอาร์ของบริษัทแห่งเดียวกัน
ประโยชน์ที่เป็นนามธรรม
องค์กรสามารถได้รับประโยชน์จากการวางตำแหน่งตราผลิตภัณฑ์ (Brand Positioning) ให้อยู่ในใจของลูกค้าเป็นอันดับต้นๆ ในประเภทสินค้าหรือบริการนั้นๆ โดยการดำเนินกิจกรรมซีเอสอาร์ ร่วมกับการทำตลาดผลิตภัณฑ์ เช่น ร้านกาแฟที่รับซื้อเมล็ดกาแฟในท้องถิ่นหรือจากไร่กาแฟที่ใช้เกษตรอินทรีย์ เป็นต้น
สำหรับองค์กรที่มิได้ใช้ตราผลิตภัณฑ์เป็นชื่อขององค์กร หรือเป็นองค์กรที่มีหลายตราผลิตภัณฑ์ สามารถดำเนินกิจกรรมซีเอสอาร์ที่เสริมภาพลักษณ์องค์กร (Corporate Image) นอกเหนือจากการวางตำแหน่งตราผลิตภัณฑ์ โดยการสร้างธรรมเนียมปฏิบัติทางธุรกิจที่อำนวยประโยชน์ต่อสังคมโดยสมัครใจมากกว่าเป็นเพียงการปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับในอุตสาหกรรมหรือกฎหมายบ้านเมืองในด้านต่างๆ เช่น การจัดหาและดูแลระบบบำบัดของเสียจากโรงงานให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ มากกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำของกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง หรือมากกว่าการมีระบบไว้เพียงเพื่อให้ผ่านการตรวจสอบตามเกณฑ์ แต่มิได้เปิดใช้งาน เป็นต้น
นอกจากนี้ องค์กรยังสามารถจัดทำรายงานของกิจการที่เรียกว่า Sustainability Report ซึ่งหน่วยงาน Global Reporting Initiative (GRI) เป็นผู้วางกรอบและแนวทางไว้ เพื่อใช้เผยแพร่กิจกรรมทั้งในมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมขององค์กร โดยในปัจจุบัน มีองค์กรธุรกิจที่จัดทำรายงานดังกล่าวนี้แล้วนับพันแห่งทั่วโลก

ความสำคัญของ CSR

ความสำคัญของซีเอสอาร์
การเจริญเติบโต (Growth) ของธุรกิจหนึ่งๆ มาจากการพัฒนาองค์กรให้มีความ “เก่ง” อยู่ในตัว ในขณะที่การพัฒนาองค์กรให้มีความ “ดี” อยู่ในตัว จะก่อให้เกิดความยั่งยืน (Sustainability) ของธุรกิจนั้นๆ

แนวคิดและทฤษฎีทางธุรกิจที่ได้รับการปลูกฝังและถ่ายทอดสู่องค์กรโดยส่วนใหญ่ ล้วนมุ่งไปที่การพัฒนาให้เป็นองค์กรที่ “เก่ง” ตัวอย่างทฤษฎีที่รู้จักกันดี ได้แก่ SWOT Analysis (Ansoff 1965) สำหรับการกำหนดตำแหน่งและการสร้างความสำเร็จขององค์กร หรือ Boston Matrix (BCG 1970) สำหรับการกำหนดความสำคัญและการสร้างความสำเร็จในผลิตภัณฑ์ หรือ Five Forces (Porter 1980) และ Diamond Model (Porter 1990) สำหรับการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน เป็นต้น
สำหรับแนวคิดในเรื่องซีเอสอาร์ จะมุ่งไปที่การสร้างให้องค์กรมีความ “ดี” ที่ก่อให้เกิดความยั่งยืนของกิจการ เป็นแนวคิดที่มีรากฐานมาจากหลักคุณธรรมทางศาสนา ซีเอสอาร์จึงมิใช่เรื่องใหม่ เพียงแต่เพิ่งได้มีการบัญญัติคำนี้ขึ้นใช้ในวงการธุรกิจเมื่อไม่กี่สิบปีที่ผ่านมานี้เอง
สำหรับในประเทศไทย แนวคิดเรื่องซีเอสอาร์ได้ถือกำเนิดขึ้นพร้อมกับการสถาปนาธุรกิจในสังคมไทยมาเป็นเวลายาวนาน ในรูปของการทำบุญ การบริจาคเพื่อการกุศล หรือการอาสาช่วยเหลืองานส่วนรวมที่เรียกว่า “การลงแขก” เป็นต้น เพียงแต่คนไทยยังมิได้เรียกกิจกรรมเหล่านี้ด้วยคำว่าซีเอสอาร์
อย่างไรก็ดี กระแสซีเอสอาร์ในเมืองไทย ก็ได้ถูกจุดประกายขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมในปี 2549 และได้ถูกบรรจุเป็นแนวปฏิบัติที่ผนวกเข้ากับการดำเนินธุรกิจ นอกเหนือไปจากการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมในรูปแบบที่อยู่นอกกระบวนการทางธุรกิจ เช่น การบริจาค หรือการอาสาช่วยเหลือสังคมเช่นที่ผ่านมา

CSRคืออะไร

ซีเอสอาร์คืออะไร

ซีเอสอาร์ เป็นคำย่อจากภาษาอังกฤษว่า Corporate Social Responsibility (CSR) หรือ บรรษัทบริบาล หมายถึง การดำเนินกิจกรรมภายในและภายนอกองค์กร ที่คำนึงถึงผลกระทบต่อสังคมทั้งในระดับใกล้และไกล ด้วยการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในองค์กรหรือทรัพยากรจากภายนอกองค์กร ในอันที่จะทำให้อยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างเป็นปกติสุข
หากพิจารณาแยกเป็นรายคำศัพท์ คำว่า Corporate มุ่งหมายถึงกิจการที่ดำเนินไปเพื่อแสวงหาผลกำไร (หมายรวมถึงองค์กรประเภทอื่นได้ด้วย) ส่วนคำว่า Social ในที่นี้ มุ่งหมายถึงกลุ่มคนที่มีความสัมพันธ์กันหรือมีวิถีร่วมกันทั้งโดยธรรมชาติหรือโดยเจตนา รวมถึงสิ่งมีชีวิตอื่นและสิ่งแวดล้อมที่อยู่รายรอบประกอบ และคำว่า Responsibility มุ่งหมายถึงการยอมรับทั้งผลที่ไม่ดีและผลที่ดีในกิจการที่ได้ทำลงไปหรือที่อยู่ในความดูแลของกิจการนั้นๆ ตลอดจนการรับภาระหรือเป็นธุระดำเนินการป้องกันและปรับปรุงแก้ไขผลที่ไม่ดี รวมถึงการสร้างสรรค์และบำรุงรักษาผลที่ดีซึ่งส่งกระทบไปยังผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่างๆ

ลำดับชั้นของผู้มีส่วนได้เสียในระดับต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับซีเอสอาร์

คำว่า กิจกรรม (activities) ในความหมายข้างต้น หมายรวมถึง การคิด การพูด และการกระทำ ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่ การวางแผน การตัดสินใจ การสื่อสารประชาสัมพันธ์ การบริหารจัดการ และการดำเนินงานขององค์กร
สังคมในความหมายของความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ จะพิจารณาตั้งแต่ผู้มีส่วนได้เสียในองค์กร ได้แก่ ผู้ถือหุ้น ผู้บริหาร พนักงาน และผู้มีส่วนได้เสียนอกองค์กร ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ระดับ ได้แก่ สังคมใกล้ และสังคมไกล
สังคมใกล้ คือ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องใกล้ชิดกับองค์กรโดยตรง ได้แก่ ลูกค้า คู่ค้า ครอบครัวของพนักงาน ชุมชนที่องค์กรตั้งอยู่ ซึ่งรวมถึงสิ่งแวดล้อมหรือระบบนิเวศ
สังคมไกล คือ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับองค์กรโดยอ้อม ได้แก่ คู่แข่งขันทางธุรกิจ ประชาชนทั่วไป เป็นต้น
ในระดับของลูกค้า ตัวอย่างซีเอสอาร์ของกิจการ ได้แก่ การสร้างผลิตภัณฑ์ที่เน้นคุณค่ามากกว่ามูลค่า ความรับผิดชอบในผลิตภัณฑ์ต่อผู้บริโภค การให้ข้อมูลขององค์กรและตัวผลิตภัณฑ์อย่างเพียงพอและอย่างถูกต้องเที่ยงตรง มีการให้บริการลูกค้าอย่างตรงไปตรงมา เป็นต้น
ในระดับของคู่ค้า ตัวอย่างซีเอสอาร์ของกิจการ ได้แก่ การแบ่งปันหรือการใช้ทรัพยากรร่วมกันหรือการรวมกลุ่มในแนวดิ่งตามสายอุปทาน ความรอบคอบระมัดระวังในการผสานประโยชน์อย่างเป็นธรรม ไม่เอารัดเอาเปรียบต่อคู่ค้า เป็นต้น
ในระดับของชุมชนและสภาพแวดล้อม ตัวอย่างซีเอสอาร์ของกิจการ ได้แก่ การสงเคราะห์เกื้อกูลชุมชนที่องค์กรตั้งอยู่ การส่งเสริมแรงงานท้องถิ่นให้มีโอกาสในตำแหน่งงานต่างๆ ในองค์กร การสนับสนุนแนวทางการระแวดระวังในการดำเนินงานที่อาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การเปิดเผยข้อมูลการดำเนินงานที่อาจส่งผลกระทบต่อชุมชนที่องค์กรตั้งอยู่ และการเรียนรู้วัฒนธรรมท้องถิ่นเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างปกติสุข เป็นต้น
ในระดับของประชาสังคม ตัวอย่างซีเอสอาร์ของกิจการ ได้แก่ การสร้างความร่วมมือระหว่างกลุ่มหรือเครือข่ายอื่นๆ ในการพัฒนาสังคม การตรวจตราดูแลมิให้กิจการเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการล่วงละเมิดสิทธิมนุษยชน การรับฟังข้อมูลหรือทำประชาพิจารณ์ต่อการดำเนินกิจการที่ส่งผลกระทบต่อสังคมโดยรวม และการทำหน้าที่ในการเสียภาษีอากรให้รัฐอย่างตรงไปตรงมา เป็นต้น
ในระดับของคู่แข่งขันทางธุรกิจ ตัวอย่างซีเอสอาร์ของกิจการ ได้แก่ การดูแลกิจการมิให้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการแข่งขันด้วยวิธีการทุ่มตลาด การดำเนินงานในทางต่อต้านการทุจริต รวมทั้งการกรรโชก และการให้สินบนในทุกรูปแบบ เป็นต้น

วันพฤหัสบดีที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2553

วิพากษ์ CSR บริษัทยักษ์ใหญ่ในไทย

เมื่อยกตัวอย่างการทำ CSR ภาคปฏิบัติทีไร เรามักเห็นตัวอย่างของวิสาหกิจยักษ์ใหญ่ในประเทศไทย ดูแล้วรู้สึกว่าทำได้ดีเหลือเกิน แต่อันที่จริง อาจเป็นการทำ CSR ที่ไม่ตรงประเด็น และที่สำคัญเอาเป็นแบบอย่างไม่ได้มากนัก ขืนทำไปก็อาจเข้าทำนอง “เห็นช้างขี้ ขี้ตามช้าง”
          ถ้าเราอ่านบทสัมภาษณ์ของผู้บริหารวิสาหกิจยักษ์ใหญ่ หลายท่านก็มักจะแสดงความเห็นดี ๆ หลายอย่างต่อ CSR เช่น เป็นการบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม ทำแล้วเกิดความสุขที่ยั่งยืน ไปจนถึงกระทั่งกำไรไม่ใช่เป้าหมายสูงสุด แล้วก็ยกตัวอย่างการช่วยเหลือสังคมมาตั้งแต่สมัยรุ่นปู่ รุ่นพ่อให้เห็นว่าได้ดำเนินการมานานแล้ว เป็นต้น
          อย่างไรก็ตาม CSR หรือ Corporate Social Responsibility ซึ่งแปลไทยว่า ความรับผิดชอบต่อสังคมของวิสาหกิจนั้น เป็นมากกว่าการบำเพ็ญประโยชน์ ยังรวมถึงมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณธุรกิจซึ่งถือเป็น Soft Laws และที่สำคัญที่สุดก็คือการปฏิบัติตามกฎหมายโดยเคร่งครัดซึ่งถือเป็น Hard Laws ที่เราจะละเมิดไม่ได้ CSR นั้นทำเพื่อประโยชน์ของทั้งผู้ถือหุ้น ลูกจ้าง คู่ค้า ลูกค้า ชุมชนโดยรอบ สังคมโดยรวม อย่างสมดุล ไม่ใช่ไปเน้นฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
          ที่ว่า “การแสวงหากำไรสูงสุดไม่ใช่เป้าหมายหลัก” นั้น ฟังดูเผิน ๆ ก็ดูเท่ดี แต่จริง ๆ การแสวงหากำไรสูงสุดโดยไม่โกงก็มีและย่อมแสดงนัยถึงการมีประสิทธิภาพสูงสุดที่บริหารแบบมืออาชีพจริง ๆ มิใช่หรือ การวางหลักไม่แสวงหากำไรสูงสุดเช่นนี้ ละเมิดหรือขัดกับผลประโยชน์ของเหล่าผู้ถือหุ้นใหญ่น้อยหรือไม่ บางครั้งการใช้นโยบายที่ดูดีจากเงินของผู้ถือหุ้นเช่นนี้ ก็ส่งผลให้ผู้บริหารวิสาหกิจยักษ์ใหญ่ มีชื่อเสียงส่วนตัวขจรขจายได้กลายเป็นผู้ทรงเกียรติในสภาไปบ้างแล้ว
          บริษัทพลังงานรายใหญ่รายหนึ่งชู CSR ที่การปลูกป่าขนาดรวมพอ ๆ กับกรุงเทพมหานคร บริษัทวัสดุก่อสร้างใหญ่ก็พยายามพัฒนาชนบท สร้างฝายน้ำนับหมื่น ๆ แห่ง บริษัทโทรคมนาคมใหญ่ก็เน้นการทำประโยชน์ต่อชุมชน ประเทศชาติไปจนถึงสิ่งแวดล้อมและโลกโดยรวม ธนาคารแห่งหนึ่งก็เน้นเรื่องการส่งเสริมกีฬา บางแห่งก็เน้นเรื่องการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมไทย ส่วนบริษัทเครื่องดื่มแองกอฮอล์ ก็บำเพ็ญประโยชน์ในทุกรูปแบบ ตั้งแต่กีฬา การศึกษา สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรม
          การบำเพ็ญประโยชน์เหล่านี้เป็นสิ่งที่ดีที่ควรค่าแก่การยกย่อง อย่างไรก็ตามการบำเพ็ญประโยชน์ไมใช่ประเด็นหลักของ CSR แต่เป็นเพียงประเด็นเสริม วิสาหกิจเอกชนนั้นคงไม่ใช่มีหน้าที่หลักเป็นเสมือนกรมการพัฒนาชุมชน กรมป่าไม้ กรมศิลปากร หรือการกีฬาแห่งประเทศไทย แต่อย่างใด
          เราคงจำได้ว่า เคยมีโฆษณาว่า “รักเมืองไทย ใช้ ___” แต่ยุคหนึ่ง ผู้บริโภคกลับไปเติมน้ำมัน JET เพราะบริการดีกว่า ห้องน้ำสะอาดกว่าและขายราคาถูกกว่าเป็นต้น  บริษัทผลิตวัสดุก่อสร้างใหญ่ก็เกือบเอาตัวไม่รอดในยุคเศรษฐกิจตกต่ำปี 2540  ข้อนี้แสดงให้เห็นชัดว่าการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีช่วยอะไรแทบไม่ได้เลย และการบริหารจัดการก็ใช่ว่าจะดีจนเป็นหลักประกันที่เชื่อมั่นได้ บริษัทโทรคมนาคมบางแห่งก็ถูกวิสาหกิจข้ามชาติมาซื้อไป ส่วนบริษัทเครื่องดื่มแองกอฮอล์บางแห่งก็ไม่รู้จักปรับตัวตั้งแต่แรก ด้วยการผลิตสินค้าราคาถูกอกมาแข่งขันจนเสียส่วนแบ่งตลาดไปมากมาย
          จะเห็นได้ว่าในท่ามกลางการแข่งขันที่รุนแรงนี้ การบริหารธุรกิจที่ไม่เป็นมืออาชีพที่ดีพอ จะไม่สามารถอยู่รอดได้ และยิ่งทำ CSR ที่กลายเป็นการให้ การช่วยเหลือสังคม ยิ่งกลายเป็นภาระ เป็นส่วนเกิน และเป็น “เตี้ยอุ้มค่อม” จนสถาบันการเงินบางแห่งเลิกทำ เลิกสนใจหน้าตาในยามเกิดวิกฤติ
          อย่างไรก็ตามการบำเพ็ญประโยชน์ของวิสาหกิจยักษ์ใหญ่เป็นกิจกรรมจำเป็น ที่มุ่งจะสร้างชื่อให้คนรู้จักติดตลาด ถือเป็นการตลาดแบบอ่อน ๆ หรือ Soft Marketing หรือเป็นการโฆษณาแฝงอย่างหนึ่งที่ขาดเสียมิได้ กิจกรรมเหล่านี้วิสาหกิจขนาดเล็กอาจทำไม่ได้เพราะจะกลายเป็นการ “เห็นช้างขี้ ขี้ตามช้าง” ไป
          การทำ CSR ที่แท้นั้นจะทำให้องค์กรอยู่รอดและเติบโตได้อย่างมั่นคง กิจกรรม CSR ของวิสาหกิจยักษ์ใหญ่ควรเน้นที่ลูกค้าผู้ใช้บริการโดยบริษัทพลังงานรายใหญ่ ต้องบริหารได้อย่าง JET ในอดีต จนทำให้ผู้ใช้บริการมั่นใจและเชื่อถือในบริการ บริษัทผลิตวัสดุก่อสร้างต้องขายสินค้าที่มีคุณภาพในราคาที่ต่ำกว่าบริษัทต่างชาติ บริษัทโทรคมนาคม ต้องสามารถแข่งขันกับต่างชาติได้ สถาบันการเงินโดยเฉพาะที่เป็นวิสาหกิจของรัฐก็ต้องสร้างความเชื่อถือที่เหนือกว่าคู่แข่งทั้งต่อผู้มาฝากเงินและผู้มาขอกู้
          ในทางตรงกันข้ามปรากฏการณ์ที่แสดงถึงการขาด CSR ก็เช่น การที่ลูกค้าต้องไปเข้าคิวซื้อวัสดุก่อสร้างข้ามคืนในช่วงก่อนวิกฤติปี 2540 นั้นแสดงถึงการบริหารจัดการที่ไม่มีประสิทธิภาพและการดูแลลูกค้าที่ไม่ดีพอ นอกจากนี้สถาบันการเงินบางแห่งก็บีบคั้นพนักงานให้ทำธุรกิจที่หลากหลายจนสร้างความกดดันอย่างหนักจนถึงกับฆ่าตัวตายไปก็มี
          ประเด็นที่วิสาหกิจยักษ์ใหญ่ต้องดูแลเป็นพิเศษเพื่อให้มี CSR ที่แท้ก็คือ การโกงกินภายใน โดยเฉพาะฝ่ายจัดซื้อที่ทำตัวมีอิทธิพล เป็นแหล่งหาผลประโยชน์หรือแดนสนธยาสำหรับผู้บริหารระดับสูง การว่าจ้างบริษัทวงศ์วานว่านเครือมาใช้บริการโดยขาดการแข่งขันเสรี จึงไม่สามารถได้ผู้ให้บริการที่มีคุณภาพคุ้มค่าเพียงพอต่อผู้ถือหุ้น หรือแม้แต่การชักปากถุงกับลูกค้าผู้มาขอกู้เงิน หรือการเลือกใช้ผู้ให้บริการที่ยินยอมจ่ายค่านายหน้าให้ฝ่ายจัดซื้อ เป็นต้น
          ถ้าวิสาหกิจขนาดยักษ์สามารถอุดช่องโหว่การโกงกินได้ ก็จะสร้างความน่าเชื่อถือ ทำให้เกิดความยั่งยืนของแบรนด์ของตนได้เป็นอย่างดี และยังมีเงินเหลืออีกมหาศาล มาบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมได้อย่างมีประสิทธิผล ไม่ใช่การบำเพ็ญประโยชน์ที่ขาดกลยุทธ์เช่นที่เป็นอยู่ ยิ่งวิสาหกิจเหล่านี้บำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมอย่างเต็มที่ ก็ยิ่งที่จะทำให้สังคมน่าอยู่ยิ่งขึ้น วิสาหกิจยักษ์ใหญ่นั้นก็ยิ่งมั่นคง ไม่พังครืนเหมือนปราสาททราย!

* ดร.โสภณ พรโชคชัย ผู้เขียนหนังสือ “CSR ที่แท้” และบทความด้าน CSR อย่างต่อเนื่อง เป็นผู้แทน UN Global Compact ประจำประเทศไทย กรรมการหอการค้าไทยสาขาจรรยาบรรณ สาขาเศรษฐกิจพอเพียง และอสังหาริมทรัพย์ ในด้านวิชาชีพเป็นผู้ประเมินค่าทรัพย์สิน ผู้แทนสมาคมประเมินนานาชาติ IAAO ประจำประเทศไทย และกรรมการสภาที่ปรึกษาของ Appraisal Foundation ซึ่งเป็นหน่วยงานควบคุมวิชาชีพประเมินค่าทรัพย์สินในสหรัฐอเมริกาที่แต่งตั้งขึ้นโดยสภาคองเกรส ในด้านธุรกิจเป็นประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย Agency for Real Estate Affairs Email: sopon@area.co.th

CSR ที่บริษัทอสังหาริมทรัพย์ต้องมี

CSR ที่บริษัทอสังหาริมทรัพย์ต้องมี
สยามรัฐ วันที่ 27 ตุลาคม 2553 หน้า 17

ดร.โสภณ พรโชคชัย

          หลายคนงงว่า CSR เกี่ยวอะไรกับอสังหาริมทรัพย์ เพราะคิดว่า CSR คือการให้ การช่วยเหลือสังคม ซึ่งอาจเหมือน ‘เหล้าเก่าในขวดใหม่’ แบบกิจกรรมแจกผ้าห่มของพวก ‘คุณหญิงคุณนาย’ แต่แท้จริงแล้ว CSR จะเป็นอาวุธในการสร้างแบรนด์ สร้างความแข็งแกร่งให้กับบริษัทอสังหาริมทรัพย์
          CSR หรือ Corporate Social Responsibility คือะไร ก็คือ ความรับผิดชอบต่อสังคมหรือ ถือเป็นสิ่งที่วิสาหกิจที่มีอารยะพึงดำเนินการ ต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย อันประกอบด้วย ผู้ถือหุ้น ลูกจ้าง ลูกค้า ชุมชนโดยรอบและสังคมโดยรวม CSR ประกอบด้วย การปฏิบัติตามกฎหมายโดยเคร่งครัด โดยไม่ละเมิดต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การมีมาตรฐานและจรรยาบรรณที่ดี (Soft Laws) และการบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม
          CSR ตามหลักการของ United Nations Global Compact นั้นถือปฏิบัติใน 4 ด้านสำคัญคือ การไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชน การคุ้มครองแรงงาน การรักษาสิ่งแวดล้อม และการไม่ทุจริตและประพฤติมิชอบ การปฏิบัติต่อลูกค้า บังเอิญว่า ผมเป็นผู้แทนของ United Nations Global Compact ในประเทศไทย ท่านที่ประสงค์จะให้บริษัทได้ชื่อว่ามี CSR ที่แท้ ก็สมัครเป็นสมาชิก โดยติดต่อผมในฐานะผู้ประสานงานในไทยได้นะครับ
          ที่ผ่านมา เรามักได้ข่าวบริษัทพัฒนาที่ดินบางแห่งโกงชาวบ้าน จนถึงขั้นฟ้องร้อง ออกข่าวให้เสียชื่อเสียงไปโดยไม่จำเป็น บางแห่งก็ดูแลชุมชนไม่ดี โจรชุกชุม คนก็อาจไม่กล้าไปซื้อ หรือบางแห่งก็ใช้สัญญาที่ไม่เป็นธรรมกับลูกค้า หรือหลายแห่งก็ไม่ยอมทำตาม พรบ.คุ้มครองเงินดาวน์คู่สัญญา เพราะถือว่าเป็นกฎหมายแบบ ‘อาสาสมัคร’ คือจะทำก็ได้หรือไม่ทำก็ได้
          ดังนั้นในแวดวงอสังหาริมทรัพย์ของเราจึงยังไม่มีการคุ้มครองผู้บริโภคเท่าที่ควร ถ้าเราทำธุรกิจโดยคุ้มครองผู้บริโภคหรือลูกค้าของเรา ลูกค้าของเราก็จะเกิดความมั่นใจในแบรนด์ของเรา เราก็จะประสบความสำเร็จในที่สุด
          ด้วยเหตุนี้ บริษัทที่เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์จะเติบโตแบบยั่งยืนได้ ก็ต่อเมื่อมีการสร้างแบรนด์ที่ขายได้และน่าเชื่อถือ การทำ CSR จึงเป็นการสร้างแบรนด์ที่แท้จริง ไม่ใช่แค่การโฆษณาชวนเชื่อแบบตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ
          ผมจึงจะจัดงานใหญ่เรื่อง CSR ในการเสวนาวิชาการรายเดือนครั้งที่ 97 ในวันพุธที่ 27 ตุลาคม 2553 เวลา 13:00-17:00 น. ณ ห้องประชุมชั้น 17 บจก.บริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ ถ.สุรศักดิ์ กรุงเทพฯ
          ผมเป็นผู้แทน UN Global Compact ในประเทศไทย กรรมการสภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทยที่เป็นผู้ดูแล CSR สำหรับประเทศไทย และเป็นกรรมการหอการค้าสาขาจรรบรรณ จึงตั้งใจจะจัดงานนี้ให้ทุกท่านในแวดวงอสังหาริมทรัพย์ได้มาสร้างแบรนด์เพื่ออนาคตของวงการนี้จะได้เป็นที่เชื่อถือของผู้บริโภคยิ่งขึ้น
งานนี้ผมขอเชิญแฟน ๆ สยามรัฐฟรี แต่กรุณาแจ้งล่วงหน้าภายในวันที่ 26 ตุลาคม ศกนี้ที่ คุณปิยะดา โทรศัพท์ 0.2295.3171 ต่อ 105 E-mail: info@thaiappraisal.org และโปรดแจ้งว่าเป็นผู้อ่านคอลัมน์นี้จากสยามรัฐ จำกัดจำนวนแขกเพียง 50 ท่านแรกนะครับ และถ้าไม่แจ้งก่อนแล้วไปหน้างาน มูลนิธิคิดค่าบำรุง 750 บาท บริจาคเพื่อกิจกรรมสาธารณประโยชน์ที่ทางมูลนิธิจัดขื้น
          ท่านจะได้พบกับนางพนิตา กำภู ณ อยุธยา ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในฐานะประธานเปิดงาน กรณีศึกษา CSR ที่ทำได้จริง บจก.บริหารสินทรัพย์กรุงเทพพาณิชย์ โดยนายสุเมธ มณีวัฒนา กรรมการผู้จัดการใหญ่ บสก. และผู้รู้สำคัญอื่นได้แก่ ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ผศ.ดร.เกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์ จาก บมจ.เสนาดีเวลลอปเม้นท์ ดร.กนก อภิรดี อดีตกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ การบินไทย และนายสมปราชญ์ พลับแดง สำนักงานคณะกรรมการ ป.ป.ช.

วันพุธที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ภาคธุรกิจที่มี CSR ได้โอกาสก้าวสู่เจเนอเรชั่นใหม่

รัฐหนุน SE ธุรกิจแบบใหม่ คลัง-บีโอไอจ่อช่วยลดภาษี
18 พฤศจิกายน 2553 13:24 น.

*รัฐเดินหน้าผลักดัน “กิจการเพื่อสังคม” เต็มที่
*คลังจับมือบีโอไอ เตรียมมาตรการภาษีจูงใจให้เกิด Social Enterprise
*อภิรักษ์เดินหน้าดึงตลาดเงิน-ตลาดทุน อีกทั้งกรอ.หนุน
*ภาคธุรกิจที่มี CSR ได้โอกาสก้าวสู่เจเนอเรชั่นใหม่
       ประเทศไทยกำลังจะมีนิติบุคคลประเภทใหม่ที่จดทะเบียนประเภท “กิจการเพื่อสังคม” หรือ Social Enterprise และรัฐบาลเตรียมออกมาตรการสนับสนุนและส่งเสริมให้มีกิจการธุรกิจประเภทใหม่ที่ทำประโยชน์เพื่อสังคมอย่างเต็มที่
       ความเคลื่อนไหวดังกล่าวเมื่อเกิดผลสำเร็จก็จะเป็นผลงานเด่นชิ้นสำคัญในการสร้างพลังผนึกนโยบายรัฐกับความสามารถเชิงบริหารของภาคธุรกิจที่จะขับเคลื่อนการผลิตสินค้า และบริการที่มีคุณค่าต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างเต็มเปี่ยม
ยกระดับCSR ไปอีกขั้น
       ขณะเดียวกันนี่เป็นการยกระดับไปถึงขั้นจัดตั้งบริษัทเพื่อธุรกิจอย่างมีกำไรแต่มุ่งเพื่อประโยชน์ของสังคมและสิ่งแวดล้อม จึงต่างจากธุรกิจทั่วไปที่แม้จะเริ่มเป็นกระแสที่มีการแสดงจุดยืนการดำเนินกิจการ หรือมีกิจกรรมส่งเสริมสังคมและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
       อภิรักษ์ โกษะโยธิน ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ในฐานะรองประธานคณะกรรมการสร้างเสริมกิจการเพื่อสังคมแห่งชาติ ให้สัมภาษณ์ “ผู้จัดการ 360 องศา รายสัปดาห์” ว่า เพื่อส่งเสริมให้มีการจัดตั้งกิจการเพื่อสังคม จำเป็นต้องมีมาตรการจูงใจแก่ภาคธุรกิจที่จะลงทุนเพื่อการนี้
       “กิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise) นับเป็นวิวัฒนาการอีกขั้นหนึ่งต่อจากการมีความรับผิดชอบต่อสังคม (Social Responsibility) ซึ่งในระยะหลังได้มีองค์กรที่คำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม หรือมี CSR มากกว่าในอดีตที่ธุรกิจจะเน้นการแสวงหากำไรสูงสุด”
       อภิรักษ์ กล่าวว่า วิกฤติทางเศรษฐกิจและภัยธรรมชาติ ซึ่งเป็นผลจากปัญหาสิ่งแวดล้อม และภาวะโลกร้อน จึงเป็นโอกาสให้เกิดความตระหนกที่จะไม่เน้นการสร้างเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างเดียว แต่ต้องพัฒนาให้เกิดความสมดุลทั้งเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
       การจัดตั้งคณะกรรมการสร้างเสริมกิจการเพื่อสังคมแห่งชาติเมื่อเดือนพฤษภาคม 2553 ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และมีสำนักกงานบริหารอย่างจริงจังจึงเป็นหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงระดับนโยบายของประเทศที่มีเป้าหมายเพื่อสร้างการรับรู้และส่งเสริมให้เกิดกิจการเพื่อสังคม และพัฒนาขีดความสามารถของกิจการเพื่อสังคม เช่น มาตรการทางภาษี และกฏหมาย และการสร้างการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของกิจการเพื่อสังคม
ครม.เศรษฐกิจเห็นชอบหลักการ
       เช้าวันที่ 15 พฤศจิกายนที่ผ่านมา คณะกรรมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจได้ประชุมพิจารณาการส่งเสริมกิจการเพื่อสังคม ตามที่สำนักงานสร้างเสริมกิจการเพื่อสังคมแห่งชาติ (สกส.) ซึ่งข้อเสนอประกอบด้วย
       1.หลักเกณฑ์การจดทะเบียนกิจการเพื่อสังคม และมาตรการส่งเสริมกิจการเพื่อสังคม
       2.แนวทางการดำเนินงาน โดยกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise) หมายถึงกิจการที่ภาคเอกชนหรือภาคประชาชนเป็นเจ้าของ มีรายรับจากการขาย การผลิต หรือการให้บริการ ซึ่งมิได้มีเป้าหมายที่จะสร้างกำไรสูงสุดต่อผู้ถือหุ้นและเจ้าของ และมีลักษณะพิเศษ อาทิ กระบวนการผลิต การดำเนินกิจการ ไม่ก่อให้เกกิดผลเสียต่อเนื่องในระยะยาวต่อสังคม สุขภาวะ และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งมีการกำกับดุแลกิจการที่ดี และมีความยั่งยืนทางการเงินได้ด้วยตนเอง ตลอดจนมีการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้
       คณะกรรมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจ มีความเห็นว่า เรื่องนี้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลในการส่งเสริมกิจการเพื่อสังคม อย่างไรก็ตาม สกส.จำเป็นต้องกำหนดหลักเกณฑ์การพิจาณณาหรือนิยามของกิจการในลักษณะดังกล่าวที่ชัดเจน เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปพิจารณาในรายละเอียดการส่งเสริมหรือสนับสนุนในด้านต่างๆในอนาคตมีความเหมาะสมและชัดเจน
       ทั้งนี้ เพื่อให้มีความแตกต่างจากการสนับสนุนการทำ CSR กับการสนับสนุนกิจการเพื่อสาธารณะประโยชน์ (NGO) รวมทั้งควรมีกลไกในการตรวจสอบการดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการส่งเสริม “กิจการเพื่อสังคม”
       ที่ประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจ ได้มีมติเห็นชอบหลักเกณฑ์การจดทะเบียนกิจการเพื่อสังคม โดยมอบหมายให้ สกส.ปรับปรุงในรายละเอียดของนิยามให้ชัดเจนตามความเห็นของที่ประชุม รวมทั้งให้มีกลไกการตรวจสอบการดำเนินการ
       ทั้งนี้ ให้ สกส. หารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในกการกำหนดแนวทางการดำเนินงาน รวมทั้งมาตรการสนับสนุนและส่งเสริมกิจการเพื่อสังคมต่อไป
คลังเตรียมหนุนมาตรการภาษี
       ทั้งนี้เป็นผลต่อเนื่องจากการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมกิจการเพื่อสังคม ซึ่งมีนายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นประธาน เมื่อเร็วๆนี้ ที่ประชุมมีมติให้กระทรวงการคลัง คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน และหน่วยงานราชการอื่นๆ เร่งพัฒนามาตรการเพื่อเข้าคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจในครั้งนี้ โดยมอบกระทรวงการคลังให้เตรียมทำมาตรการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีกับนักลงทุนเพื่อสังคม การยกระดับองค์กรการเงินชุมชนให้เป็นสถาบันการเงินเพื่อการพัฒนาชุมชน เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจในระดับท้องถิ่นเพื่อสร้างความยั่งยืนในสังคม
       ที่ประชุมมีมติให้นำเสนอนโยบายตามยุทธศาสตร์สร้างเสริมกิจการเพื่อสังคมต่อคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจ ประกอบด้วย 2 เรื่องหลัก คือ
       1.พัฒนาแบบและขีดความสามารถกิจการเพื่อสังคม ผ่านการพัฒนาศูนย์บ่มเพาะกิจการเพื่อสังคม และการพัฒนาระบบเศรษฐกิจท้องถิ่นเพื่อสังคมยั่งยืน ซึ่งนำไปสู่การลดความเหลื่อมล้ำทางรายได้ทั้งในเชิงพื้นที่ พร้อมสร้างกลุ่มเศรษฐกิจเพื่อประโยชน์ชุมชน เช่น การท่องเที่ยวชุมชน กลุ่มการเงินชุมชน การค้าที่เป็นธรรม (Fair Trade) และ
       2.พัฒนาช่องทางเข้าถึงเงินทุนและทรัพยากร โดยเฉพาะการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีกับนักลงทุนเพื่อสังคม และการประสานกองทุนของรัฐที่มีอยู่แล้วมาลงทุนในกิจการเพื่อสังคมมากขึ้น
       คณะกรรมการยังมีมติให้รองประธาน อภิรักษ์ โกษะโยธิน นำเรื่องกิจการเพื่อสังคมเข้าที่ประชุม คณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ (กรอ.) เพื่อดึงภาคธุรกิจร่วมต่อยอดงาน CSR นำสู่การสนุบสนุนหรือจัดตั้งกิจการเพื่อสังคม ซึ่งเป็นการขยายความร่วมมือในการลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจที่เป็นรูปธรรม
เตรียมให้ BOI ช่วย
       อภิรักษ์ เปิดเผยว่า เพื่อส่งเสริมให้องค์กรเอกชนมีการลงทุนจัดตั้งกิจการเพื่อสังคม ซึ่งจะบริหารแบบมืออาชีพเชิงธุรกิจ แต่มีเป้าหมายเพื่อสังคมอย่างเต็มที่จึงสมควรมีมาตรการทางภาษีเป็นการส่งเสริมและจูงใจก็จะได้หารือกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ในการกำหนดธุรกิจประเภทใหม่ที่ได้สิทธิพิเศษทางภาษี
       ขณะเดียวกัน สกส. จะเป็นหน่วยงานทำหน้าที่ตรวจสอบคุณสมบัติของบริษัทที่จะเข้าเกณฑ์ได้รับการส่งเสริมด้วยมาตรการทางภาษี
       “กรมสรรพากรก็อาจมีการพิจารณาให้งดเว้นภาษีในช่วงเริ่มกิจการ หรือลดอัตราจัดเก็บภาษีนิติบุคคลให้ต่ำกว่าบริษัททั่วไป”
ให้ตลาดเงิน-ตลาดทุน หนุน
       นอกจากนี้ยังจะขอให้คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) ส่งเสริมให้บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์รวมทั้งกองทุนเพื่อการลงทุน มีการลงทุนในกิจการเพื่อสังคม และอาจส่งเสริมให้ธนาคารพาณิชย์ และธนาคารของรัฐสนับสนุนสินเชื่อด้วยการคิดอัตราดอกเบี้ยในอัตราต่ำ ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมสังคมทางหนึ่ง
       “ผมอยากเห็นบริษัทชั้นนำขนาดใหญ่ อย่างปตท. ปปูนซีเมนต์ไทย ที่ใช้งบประมาณช่วยเหลือสังคมเป็นจำนวนมากในแต่ละปี หากลงทุนจัดตั้งบริษัทประเภทกิจการเพื่อสังคมก็จะดำเนินการเลี้ยงตัวเองอย่างยั่งยืนได้ โดยไม่ต้องรอรับแต่การบริจาค”
เดินแนวอังกฤษ
       ยุคปัจจุบันธุรกิจในต่างประเทศทั้งในยุโรปและสหรัฐอเมริกาก็มีการจัดตั้งกิจการเพื่อสังคม ขณะที่ในเมืองไทยเราก็มีการดำเนินการในลักษณะกิจการเพื่อสังคมหลายรูปแบบ เช่น มีชัย วีระไวทยะ ซึ่งเริ่มจากสมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน ได้ต่อยอดขยายเครือข่ายเป็นกิจการเพื่อสังคมทั้งในรูปแบบภัตตาคาร ร้านอาหาร โรงแรม รีสอร์ท มีความมั่นคงและมีรายได้นำไปสร้างโรงเรียน และกิจกรรมพัฒนาการศึกษา และพัฒนาชุมชนได้อย่างกว้างขวาง
       อภิรักษ์ กล่าวว่า ในประเทศอังกฤษกำหนดระเบียบให้สามารถจ่ายเงินปันผลไม่เกิน 20% ของกำหรสุทธิอีก 80% ต้องนำกลับมาช่วยพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมตามความเหมาะสม ซึ่งประเทศไทยอาจใช้หลักการแบบนี้
       เมื่อมีมาตรการส่งเสริมหลายลักษณะจากภาครัฐตามแผนแม่บทส่งเสริมกิจการเพื่อสังคมดังกล่าวก็จะะมีส่วนในการส่งเสริมให้กิจการเพื่อสังคมเกิดและเติบโตได้มากขึ้น

นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง กล่าวปาฐกถา"นโยบายรัฐบาลในการส่งเสริมภาคเอกชนเกี่ยวกับ CSR"

นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง กล่าวปาฐกถา"นโยบายรัฐบาลในการส่งเสริมภาคเอกชนเกี่ยวกับ CSR" ในงาน "CSR Thailand 2011 -ไม่ทำไม่ได้แล้ว"ว่า บทบาทของรัฐบาลเพื่อช่วยเหลือสังคมปัจจุบันมีข้อจำกัด ซึ่งจากงบประมาณรายจ่ายแต่ละปีของไทยมีสัดส่วนประมาณ 16-17%ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี)เท่านั้นถือว่า น้อยมาก เมื่อเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้วเช่นอังกฤษที่มีรายจ่ายถึง 50%ของจีดีพี จึงมีงบเพียงพอในการดูแลสังคม ซึ่งหมายถึงการเก็บภาษีต้องสูงขึ้นด้วย

จากข้อจำกัดของรัฐบาล จึงต้องเร่งบทบาทให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมดูแลสังคมเพิ่มขึ้น ทั้งมาตรการที่เป็นการควบคุม เช่น การเก็บภาษีบาป และมาตรการสนับสนุนทางภาษี เช่น นิติบุคคลสามารถนำรายจ่ายจากการทำกิจกรรม CSR(กิจกรรมเพื่อสังคม) มาหักหย่อนภาษีได้ 2% ของกำไรสุทธิ บุคคลธรรมดาหักลดหย่อนได้ 10% ของรายได้ต่อปี รวมถึงมาตรการภาษีอื่นๆเช่น ภาษีนำเข้ารถยนต์อี-85 เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ภาษีการอ่าน และภาษีสิ่งแวดล้อม

อย่างไรก็ตามพบว่า เอกชนยังไม่ให้ความสนใจในการทำCSR เท่าที่ควร เห็นได้จากที่ผ่านมา ในส่วนของนิติบุคคล มีบริษัทมาขอลดหย่อนภาษีประมาณ 1.6 หมื่นบริษัทจากที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์กว่าแสนบริษัท และมีอัตราเฉลี่ยของคืนภาษีที่ 0.6-0.7% จากเป้า 2% ขณะที่บุคคลธรรมดาก็มีผู้ขอหักภาษีเฉลี่ย 3 แสนคน คิดเป็นอัตราขอคืนภาษี 2.6-2.7% จากเป้า 10% โดยวงเงิน ขอลดหย่อนภาษียังไม่ถึงครึ่งของเกณฑ์ที่ตั้งไว้

"ไม่ ใช่ว่า มาตรการภาษีไม่จูงใจ แต่อาจเป็นเพราะเอกชนไม่รู้สิทธิประโยชน์ของตัวเองหรือรู้แล้วแต่ไม่ทำ ลำพังรัฐบาลคงไม่สามารถลงไปดูแลสังคมได้ทั่วถึง จากข้อจำกัดหลายๆอย่าง ขณะที่เอกชนมีกำลังมากกว่า เช่นบางประเทศเอกชนรายหนึ่งมีรายได้สูงกว่าจีดีพีของประเทศทั้งปีด้วยซ้ำ คำถามคือเอกชนจะเริ่มโครงการเพื่อสังคมได้เมื่อใด จึงเป็นความท้าทายของเอกชนจากนี้ไป เพราะนอกจากเรื่องภาษีแล้ว เรื่องภาพลักษณ์ก็เป็นส่วนที่ประชาชนสนใจ" นายกรณ์ กล่าว