...

รับว่าความ คดีอาญา คดีแพ่ง คดีปกครอง คดีทั่วไป รับทำบัญชี ทั่วราชอาญาจักร
ติตต่อ เบอร์โทร 0-2513-1833
แฟกซ์ 0-2930-2752
อีเมล์แอดเดรส
sutthirojlaw@hotmail.com

วันอังคารที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ประโยชน์ของ CSR

องค์กรที่นำแนวคิดซีเอสอาร์ไปปฏิบัติ จะเกิดผลลัพธ์ทั้งในส่วนรูปธรรมที่จับต้องได้ (Tangible) และในส่วนนามธรรมที่จับต้องไม่ได้ (Intangible) จากผู้ที่อยู่ในองค์กร ได้แก่ ผู้ถือหุ้นและพนักงาน และจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับองค์กรโดยตรงและโดยอ้อม ดังนี้
ประโยชน์ที่เป็นรูปธรรม
ในแง่ของผู้ถือหุ้นหรือเจ้าของกิจการ ราคาหุ้นมีเสถียรภาพและมีส่วนล้ำมูลค่าหุ้นในอัตราที่สูงกว่าเกณฑ์เฉลี่ย เนื่องจากเป็นที่ต้องการของนักลงทุน ปัจจุบัน เม็ดเงินลงทุนในธุรกิจที่มีซีเอสอาร์ ซึ่งเรียกกันเฉพาะว่า SRI (Social Responsibility Investing) นั้น มีมูลค่าเกิน 2 ล้านล้านเหรียญ และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เป็นโอกาสที่องค์กรสามารถเข้าถึงแหล่งทุนได้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะทำให้ต้นทุนทางการเงินมีแนวโน้มที่ต่ำกว่าเกณฑ์ปกติของตลาด
ในแง่ของพนักงาน เกิดความภาคภูมิใจในการทำงานร่วมกับองค์กร ได้รับความสุขจากการปฏิบัติงานในหน้าที่ นอกเหนือจากผลตอบแทนในรูปตัวเงิน ทำให้องค์กรสามารถที่จะรักษาพนักงานที่มีความสามารถไว้ และในขณะเดียวกัน ก็สามารถที่จะชักชวนบุคลากรที่มีคุณภาพและเป็นที่ต้องการ ให้เข้ามาทำงานกับองค์กรได้
องค์กรสามารถสร้างรายได้และส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้น จากการที่ลูกค้าพิจารณาเลือกซื้อสินค้าและบริการจากองค์กรที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม และไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม เช่น การส่งเสริมการขายด้วยการบริจาครายได้ส่วนหนึ่งต่อทุกๆ การซื้อผลิตภัณฑ์ในแต่ละครั้ง ให้แก่หน่วยงานหรือมูลนิธิที่ช่วยเหลือสังคมในด้านต่างๆ ฯลฯ
องค์กรยังสามารถที่จะลดรายจ่ายของกิจการ จากการดำเนินกิจกรรมซีเอสอาร์ ตัวอย่างเช่น โรงไฟฟ้ารณรงค์ให้ประชาชนประหยัดพลังงานเพื่อที่จะได้ไม่ต้องลงทุนสร้างโรงไฟฟ้าหรือหาแหล่งพลังงานทดแทนแห่งใหม่ หรือ การลดงบประมาณใช้จ่ายด้านโฆษณาในการเปิดตัวสินค้าแปรรูปของบริษัทแห่งหนึ่ง ที่มีส่วนช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับความเดือดร้อนจากผลผลิตที่ล้นตลาด โดยได้รับการสนับสนุนด้านประชาสัมพันธ์จากหลายภาคส่วนในสังคม เปรียบเทียบกับงบโฆษณาสินค้าที่ไม่มีส่วนประสมของซีเอสอาร์ของบริษัทแห่งเดียวกัน
ประโยชน์ที่เป็นนามธรรม
องค์กรสามารถได้รับประโยชน์จากการวางตำแหน่งตราผลิตภัณฑ์ (Brand Positioning) ให้อยู่ในใจของลูกค้าเป็นอันดับต้นๆ ในประเภทสินค้าหรือบริการนั้นๆ โดยการดำเนินกิจกรรมซีเอสอาร์ ร่วมกับการทำตลาดผลิตภัณฑ์ เช่น ร้านกาแฟที่รับซื้อเมล็ดกาแฟในท้องถิ่นหรือจากไร่กาแฟที่ใช้เกษตรอินทรีย์ เป็นต้น
สำหรับองค์กรที่มิได้ใช้ตราผลิตภัณฑ์เป็นชื่อขององค์กร หรือเป็นองค์กรที่มีหลายตราผลิตภัณฑ์ สามารถดำเนินกิจกรรมซีเอสอาร์ที่เสริมภาพลักษณ์องค์กร (Corporate Image) นอกเหนือจากการวางตำแหน่งตราผลิตภัณฑ์ โดยการสร้างธรรมเนียมปฏิบัติทางธุรกิจที่อำนวยประโยชน์ต่อสังคมโดยสมัครใจมากกว่าเป็นเพียงการปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับในอุตสาหกรรมหรือกฎหมายบ้านเมืองในด้านต่างๆ เช่น การจัดหาและดูแลระบบบำบัดของเสียจากโรงงานให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ มากกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำของกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง หรือมากกว่าการมีระบบไว้เพียงเพื่อให้ผ่านการตรวจสอบตามเกณฑ์ แต่มิได้เปิดใช้งาน เป็นต้น
นอกจากนี้ องค์กรยังสามารถจัดทำรายงานของกิจการที่เรียกว่า Sustainability Report ซึ่งหน่วยงาน Global Reporting Initiative (GRI) เป็นผู้วางกรอบและแนวทางไว้ เพื่อใช้เผยแพร่กิจกรรมทั้งในมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมขององค์กร โดยในปัจจุบัน มีองค์กรธุรกิจที่จัดทำรายงานดังกล่าวนี้แล้วนับพันแห่งทั่วโลก

ความสำคัญของ CSR

ความสำคัญของซีเอสอาร์
การเจริญเติบโต (Growth) ของธุรกิจหนึ่งๆ มาจากการพัฒนาองค์กรให้มีความ “เก่ง” อยู่ในตัว ในขณะที่การพัฒนาองค์กรให้มีความ “ดี” อยู่ในตัว จะก่อให้เกิดความยั่งยืน (Sustainability) ของธุรกิจนั้นๆ

แนวคิดและทฤษฎีทางธุรกิจที่ได้รับการปลูกฝังและถ่ายทอดสู่องค์กรโดยส่วนใหญ่ ล้วนมุ่งไปที่การพัฒนาให้เป็นองค์กรที่ “เก่ง” ตัวอย่างทฤษฎีที่รู้จักกันดี ได้แก่ SWOT Analysis (Ansoff 1965) สำหรับการกำหนดตำแหน่งและการสร้างความสำเร็จขององค์กร หรือ Boston Matrix (BCG 1970) สำหรับการกำหนดความสำคัญและการสร้างความสำเร็จในผลิตภัณฑ์ หรือ Five Forces (Porter 1980) และ Diamond Model (Porter 1990) สำหรับการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน เป็นต้น
สำหรับแนวคิดในเรื่องซีเอสอาร์ จะมุ่งไปที่การสร้างให้องค์กรมีความ “ดี” ที่ก่อให้เกิดความยั่งยืนของกิจการ เป็นแนวคิดที่มีรากฐานมาจากหลักคุณธรรมทางศาสนา ซีเอสอาร์จึงมิใช่เรื่องใหม่ เพียงแต่เพิ่งได้มีการบัญญัติคำนี้ขึ้นใช้ในวงการธุรกิจเมื่อไม่กี่สิบปีที่ผ่านมานี้เอง
สำหรับในประเทศไทย แนวคิดเรื่องซีเอสอาร์ได้ถือกำเนิดขึ้นพร้อมกับการสถาปนาธุรกิจในสังคมไทยมาเป็นเวลายาวนาน ในรูปของการทำบุญ การบริจาคเพื่อการกุศล หรือการอาสาช่วยเหลืองานส่วนรวมที่เรียกว่า “การลงแขก” เป็นต้น เพียงแต่คนไทยยังมิได้เรียกกิจกรรมเหล่านี้ด้วยคำว่าซีเอสอาร์
อย่างไรก็ดี กระแสซีเอสอาร์ในเมืองไทย ก็ได้ถูกจุดประกายขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมในปี 2549 และได้ถูกบรรจุเป็นแนวปฏิบัติที่ผนวกเข้ากับการดำเนินธุรกิจ นอกเหนือไปจากการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมในรูปแบบที่อยู่นอกกระบวนการทางธุรกิจ เช่น การบริจาค หรือการอาสาช่วยเหลือสังคมเช่นที่ผ่านมา

CSRคืออะไร

ซีเอสอาร์คืออะไร

ซีเอสอาร์ เป็นคำย่อจากภาษาอังกฤษว่า Corporate Social Responsibility (CSR) หรือ บรรษัทบริบาล หมายถึง การดำเนินกิจกรรมภายในและภายนอกองค์กร ที่คำนึงถึงผลกระทบต่อสังคมทั้งในระดับใกล้และไกล ด้วยการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในองค์กรหรือทรัพยากรจากภายนอกองค์กร ในอันที่จะทำให้อยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างเป็นปกติสุข
หากพิจารณาแยกเป็นรายคำศัพท์ คำว่า Corporate มุ่งหมายถึงกิจการที่ดำเนินไปเพื่อแสวงหาผลกำไร (หมายรวมถึงองค์กรประเภทอื่นได้ด้วย) ส่วนคำว่า Social ในที่นี้ มุ่งหมายถึงกลุ่มคนที่มีความสัมพันธ์กันหรือมีวิถีร่วมกันทั้งโดยธรรมชาติหรือโดยเจตนา รวมถึงสิ่งมีชีวิตอื่นและสิ่งแวดล้อมที่อยู่รายรอบประกอบ และคำว่า Responsibility มุ่งหมายถึงการยอมรับทั้งผลที่ไม่ดีและผลที่ดีในกิจการที่ได้ทำลงไปหรือที่อยู่ในความดูแลของกิจการนั้นๆ ตลอดจนการรับภาระหรือเป็นธุระดำเนินการป้องกันและปรับปรุงแก้ไขผลที่ไม่ดี รวมถึงการสร้างสรรค์และบำรุงรักษาผลที่ดีซึ่งส่งกระทบไปยังผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่างๆ

ลำดับชั้นของผู้มีส่วนได้เสียในระดับต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับซีเอสอาร์

คำว่า กิจกรรม (activities) ในความหมายข้างต้น หมายรวมถึง การคิด การพูด และการกระทำ ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่ การวางแผน การตัดสินใจ การสื่อสารประชาสัมพันธ์ การบริหารจัดการ และการดำเนินงานขององค์กร
สังคมในความหมายของความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ จะพิจารณาตั้งแต่ผู้มีส่วนได้เสียในองค์กร ได้แก่ ผู้ถือหุ้น ผู้บริหาร พนักงาน และผู้มีส่วนได้เสียนอกองค์กร ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ระดับ ได้แก่ สังคมใกล้ และสังคมไกล
สังคมใกล้ คือ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องใกล้ชิดกับองค์กรโดยตรง ได้แก่ ลูกค้า คู่ค้า ครอบครัวของพนักงาน ชุมชนที่องค์กรตั้งอยู่ ซึ่งรวมถึงสิ่งแวดล้อมหรือระบบนิเวศ
สังคมไกล คือ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับองค์กรโดยอ้อม ได้แก่ คู่แข่งขันทางธุรกิจ ประชาชนทั่วไป เป็นต้น
ในระดับของลูกค้า ตัวอย่างซีเอสอาร์ของกิจการ ได้แก่ การสร้างผลิตภัณฑ์ที่เน้นคุณค่ามากกว่ามูลค่า ความรับผิดชอบในผลิตภัณฑ์ต่อผู้บริโภค การให้ข้อมูลขององค์กรและตัวผลิตภัณฑ์อย่างเพียงพอและอย่างถูกต้องเที่ยงตรง มีการให้บริการลูกค้าอย่างตรงไปตรงมา เป็นต้น
ในระดับของคู่ค้า ตัวอย่างซีเอสอาร์ของกิจการ ได้แก่ การแบ่งปันหรือการใช้ทรัพยากรร่วมกันหรือการรวมกลุ่มในแนวดิ่งตามสายอุปทาน ความรอบคอบระมัดระวังในการผสานประโยชน์อย่างเป็นธรรม ไม่เอารัดเอาเปรียบต่อคู่ค้า เป็นต้น
ในระดับของชุมชนและสภาพแวดล้อม ตัวอย่างซีเอสอาร์ของกิจการ ได้แก่ การสงเคราะห์เกื้อกูลชุมชนที่องค์กรตั้งอยู่ การส่งเสริมแรงงานท้องถิ่นให้มีโอกาสในตำแหน่งงานต่างๆ ในองค์กร การสนับสนุนแนวทางการระแวดระวังในการดำเนินงานที่อาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การเปิดเผยข้อมูลการดำเนินงานที่อาจส่งผลกระทบต่อชุมชนที่องค์กรตั้งอยู่ และการเรียนรู้วัฒนธรรมท้องถิ่นเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างปกติสุข เป็นต้น
ในระดับของประชาสังคม ตัวอย่างซีเอสอาร์ของกิจการ ได้แก่ การสร้างความร่วมมือระหว่างกลุ่มหรือเครือข่ายอื่นๆ ในการพัฒนาสังคม การตรวจตราดูแลมิให้กิจการเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการล่วงละเมิดสิทธิมนุษยชน การรับฟังข้อมูลหรือทำประชาพิจารณ์ต่อการดำเนินกิจการที่ส่งผลกระทบต่อสังคมโดยรวม และการทำหน้าที่ในการเสียภาษีอากรให้รัฐอย่างตรงไปตรงมา เป็นต้น
ในระดับของคู่แข่งขันทางธุรกิจ ตัวอย่างซีเอสอาร์ของกิจการ ได้แก่ การดูแลกิจการมิให้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการแข่งขันด้วยวิธีการทุ่มตลาด การดำเนินงานในทางต่อต้านการทุจริต รวมทั้งการกรรโชก และการให้สินบนในทุกรูปแบบ เป็นต้น

วันพฤหัสบดีที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2553

วิพากษ์ CSR บริษัทยักษ์ใหญ่ในไทย

เมื่อยกตัวอย่างการทำ CSR ภาคปฏิบัติทีไร เรามักเห็นตัวอย่างของวิสาหกิจยักษ์ใหญ่ในประเทศไทย ดูแล้วรู้สึกว่าทำได้ดีเหลือเกิน แต่อันที่จริง อาจเป็นการทำ CSR ที่ไม่ตรงประเด็น และที่สำคัญเอาเป็นแบบอย่างไม่ได้มากนัก ขืนทำไปก็อาจเข้าทำนอง “เห็นช้างขี้ ขี้ตามช้าง”
          ถ้าเราอ่านบทสัมภาษณ์ของผู้บริหารวิสาหกิจยักษ์ใหญ่ หลายท่านก็มักจะแสดงความเห็นดี ๆ หลายอย่างต่อ CSR เช่น เป็นการบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม ทำแล้วเกิดความสุขที่ยั่งยืน ไปจนถึงกระทั่งกำไรไม่ใช่เป้าหมายสูงสุด แล้วก็ยกตัวอย่างการช่วยเหลือสังคมมาตั้งแต่สมัยรุ่นปู่ รุ่นพ่อให้เห็นว่าได้ดำเนินการมานานแล้ว เป็นต้น
          อย่างไรก็ตาม CSR หรือ Corporate Social Responsibility ซึ่งแปลไทยว่า ความรับผิดชอบต่อสังคมของวิสาหกิจนั้น เป็นมากกว่าการบำเพ็ญประโยชน์ ยังรวมถึงมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณธุรกิจซึ่งถือเป็น Soft Laws และที่สำคัญที่สุดก็คือการปฏิบัติตามกฎหมายโดยเคร่งครัดซึ่งถือเป็น Hard Laws ที่เราจะละเมิดไม่ได้ CSR นั้นทำเพื่อประโยชน์ของทั้งผู้ถือหุ้น ลูกจ้าง คู่ค้า ลูกค้า ชุมชนโดยรอบ สังคมโดยรวม อย่างสมดุล ไม่ใช่ไปเน้นฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
          ที่ว่า “การแสวงหากำไรสูงสุดไม่ใช่เป้าหมายหลัก” นั้น ฟังดูเผิน ๆ ก็ดูเท่ดี แต่จริง ๆ การแสวงหากำไรสูงสุดโดยไม่โกงก็มีและย่อมแสดงนัยถึงการมีประสิทธิภาพสูงสุดที่บริหารแบบมืออาชีพจริง ๆ มิใช่หรือ การวางหลักไม่แสวงหากำไรสูงสุดเช่นนี้ ละเมิดหรือขัดกับผลประโยชน์ของเหล่าผู้ถือหุ้นใหญ่น้อยหรือไม่ บางครั้งการใช้นโยบายที่ดูดีจากเงินของผู้ถือหุ้นเช่นนี้ ก็ส่งผลให้ผู้บริหารวิสาหกิจยักษ์ใหญ่ มีชื่อเสียงส่วนตัวขจรขจายได้กลายเป็นผู้ทรงเกียรติในสภาไปบ้างแล้ว
          บริษัทพลังงานรายใหญ่รายหนึ่งชู CSR ที่การปลูกป่าขนาดรวมพอ ๆ กับกรุงเทพมหานคร บริษัทวัสดุก่อสร้างใหญ่ก็พยายามพัฒนาชนบท สร้างฝายน้ำนับหมื่น ๆ แห่ง บริษัทโทรคมนาคมใหญ่ก็เน้นการทำประโยชน์ต่อชุมชน ประเทศชาติไปจนถึงสิ่งแวดล้อมและโลกโดยรวม ธนาคารแห่งหนึ่งก็เน้นเรื่องการส่งเสริมกีฬา บางแห่งก็เน้นเรื่องการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมไทย ส่วนบริษัทเครื่องดื่มแองกอฮอล์ ก็บำเพ็ญประโยชน์ในทุกรูปแบบ ตั้งแต่กีฬา การศึกษา สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรม
          การบำเพ็ญประโยชน์เหล่านี้เป็นสิ่งที่ดีที่ควรค่าแก่การยกย่อง อย่างไรก็ตามการบำเพ็ญประโยชน์ไมใช่ประเด็นหลักของ CSR แต่เป็นเพียงประเด็นเสริม วิสาหกิจเอกชนนั้นคงไม่ใช่มีหน้าที่หลักเป็นเสมือนกรมการพัฒนาชุมชน กรมป่าไม้ กรมศิลปากร หรือการกีฬาแห่งประเทศไทย แต่อย่างใด
          เราคงจำได้ว่า เคยมีโฆษณาว่า “รักเมืองไทย ใช้ ___” แต่ยุคหนึ่ง ผู้บริโภคกลับไปเติมน้ำมัน JET เพราะบริการดีกว่า ห้องน้ำสะอาดกว่าและขายราคาถูกกว่าเป็นต้น  บริษัทผลิตวัสดุก่อสร้างใหญ่ก็เกือบเอาตัวไม่รอดในยุคเศรษฐกิจตกต่ำปี 2540  ข้อนี้แสดงให้เห็นชัดว่าการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีช่วยอะไรแทบไม่ได้เลย และการบริหารจัดการก็ใช่ว่าจะดีจนเป็นหลักประกันที่เชื่อมั่นได้ บริษัทโทรคมนาคมบางแห่งก็ถูกวิสาหกิจข้ามชาติมาซื้อไป ส่วนบริษัทเครื่องดื่มแองกอฮอล์บางแห่งก็ไม่รู้จักปรับตัวตั้งแต่แรก ด้วยการผลิตสินค้าราคาถูกอกมาแข่งขันจนเสียส่วนแบ่งตลาดไปมากมาย
          จะเห็นได้ว่าในท่ามกลางการแข่งขันที่รุนแรงนี้ การบริหารธุรกิจที่ไม่เป็นมืออาชีพที่ดีพอ จะไม่สามารถอยู่รอดได้ และยิ่งทำ CSR ที่กลายเป็นการให้ การช่วยเหลือสังคม ยิ่งกลายเป็นภาระ เป็นส่วนเกิน และเป็น “เตี้ยอุ้มค่อม” จนสถาบันการเงินบางแห่งเลิกทำ เลิกสนใจหน้าตาในยามเกิดวิกฤติ
          อย่างไรก็ตามการบำเพ็ญประโยชน์ของวิสาหกิจยักษ์ใหญ่เป็นกิจกรรมจำเป็น ที่มุ่งจะสร้างชื่อให้คนรู้จักติดตลาด ถือเป็นการตลาดแบบอ่อน ๆ หรือ Soft Marketing หรือเป็นการโฆษณาแฝงอย่างหนึ่งที่ขาดเสียมิได้ กิจกรรมเหล่านี้วิสาหกิจขนาดเล็กอาจทำไม่ได้เพราะจะกลายเป็นการ “เห็นช้างขี้ ขี้ตามช้าง” ไป
          การทำ CSR ที่แท้นั้นจะทำให้องค์กรอยู่รอดและเติบโตได้อย่างมั่นคง กิจกรรม CSR ของวิสาหกิจยักษ์ใหญ่ควรเน้นที่ลูกค้าผู้ใช้บริการโดยบริษัทพลังงานรายใหญ่ ต้องบริหารได้อย่าง JET ในอดีต จนทำให้ผู้ใช้บริการมั่นใจและเชื่อถือในบริการ บริษัทผลิตวัสดุก่อสร้างต้องขายสินค้าที่มีคุณภาพในราคาที่ต่ำกว่าบริษัทต่างชาติ บริษัทโทรคมนาคม ต้องสามารถแข่งขันกับต่างชาติได้ สถาบันการเงินโดยเฉพาะที่เป็นวิสาหกิจของรัฐก็ต้องสร้างความเชื่อถือที่เหนือกว่าคู่แข่งทั้งต่อผู้มาฝากเงินและผู้มาขอกู้
          ในทางตรงกันข้ามปรากฏการณ์ที่แสดงถึงการขาด CSR ก็เช่น การที่ลูกค้าต้องไปเข้าคิวซื้อวัสดุก่อสร้างข้ามคืนในช่วงก่อนวิกฤติปี 2540 นั้นแสดงถึงการบริหารจัดการที่ไม่มีประสิทธิภาพและการดูแลลูกค้าที่ไม่ดีพอ นอกจากนี้สถาบันการเงินบางแห่งก็บีบคั้นพนักงานให้ทำธุรกิจที่หลากหลายจนสร้างความกดดันอย่างหนักจนถึงกับฆ่าตัวตายไปก็มี
          ประเด็นที่วิสาหกิจยักษ์ใหญ่ต้องดูแลเป็นพิเศษเพื่อให้มี CSR ที่แท้ก็คือ การโกงกินภายใน โดยเฉพาะฝ่ายจัดซื้อที่ทำตัวมีอิทธิพล เป็นแหล่งหาผลประโยชน์หรือแดนสนธยาสำหรับผู้บริหารระดับสูง การว่าจ้างบริษัทวงศ์วานว่านเครือมาใช้บริการโดยขาดการแข่งขันเสรี จึงไม่สามารถได้ผู้ให้บริการที่มีคุณภาพคุ้มค่าเพียงพอต่อผู้ถือหุ้น หรือแม้แต่การชักปากถุงกับลูกค้าผู้มาขอกู้เงิน หรือการเลือกใช้ผู้ให้บริการที่ยินยอมจ่ายค่านายหน้าให้ฝ่ายจัดซื้อ เป็นต้น
          ถ้าวิสาหกิจขนาดยักษ์สามารถอุดช่องโหว่การโกงกินได้ ก็จะสร้างความน่าเชื่อถือ ทำให้เกิดความยั่งยืนของแบรนด์ของตนได้เป็นอย่างดี และยังมีเงินเหลืออีกมหาศาล มาบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมได้อย่างมีประสิทธิผล ไม่ใช่การบำเพ็ญประโยชน์ที่ขาดกลยุทธ์เช่นที่เป็นอยู่ ยิ่งวิสาหกิจเหล่านี้บำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมอย่างเต็มที่ ก็ยิ่งที่จะทำให้สังคมน่าอยู่ยิ่งขึ้น วิสาหกิจยักษ์ใหญ่นั้นก็ยิ่งมั่นคง ไม่พังครืนเหมือนปราสาททราย!

* ดร.โสภณ พรโชคชัย ผู้เขียนหนังสือ “CSR ที่แท้” และบทความด้าน CSR อย่างต่อเนื่อง เป็นผู้แทน UN Global Compact ประจำประเทศไทย กรรมการหอการค้าไทยสาขาจรรยาบรรณ สาขาเศรษฐกิจพอเพียง และอสังหาริมทรัพย์ ในด้านวิชาชีพเป็นผู้ประเมินค่าทรัพย์สิน ผู้แทนสมาคมประเมินนานาชาติ IAAO ประจำประเทศไทย และกรรมการสภาที่ปรึกษาของ Appraisal Foundation ซึ่งเป็นหน่วยงานควบคุมวิชาชีพประเมินค่าทรัพย์สินในสหรัฐอเมริกาที่แต่งตั้งขึ้นโดยสภาคองเกรส ในด้านธุรกิจเป็นประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย Agency for Real Estate Affairs Email: sopon@area.co.th

CSR ที่บริษัทอสังหาริมทรัพย์ต้องมี

CSR ที่บริษัทอสังหาริมทรัพย์ต้องมี
สยามรัฐ วันที่ 27 ตุลาคม 2553 หน้า 17

ดร.โสภณ พรโชคชัย

          หลายคนงงว่า CSR เกี่ยวอะไรกับอสังหาริมทรัพย์ เพราะคิดว่า CSR คือการให้ การช่วยเหลือสังคม ซึ่งอาจเหมือน ‘เหล้าเก่าในขวดใหม่’ แบบกิจกรรมแจกผ้าห่มของพวก ‘คุณหญิงคุณนาย’ แต่แท้จริงแล้ว CSR จะเป็นอาวุธในการสร้างแบรนด์ สร้างความแข็งแกร่งให้กับบริษัทอสังหาริมทรัพย์
          CSR หรือ Corporate Social Responsibility คือะไร ก็คือ ความรับผิดชอบต่อสังคมหรือ ถือเป็นสิ่งที่วิสาหกิจที่มีอารยะพึงดำเนินการ ต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย อันประกอบด้วย ผู้ถือหุ้น ลูกจ้าง ลูกค้า ชุมชนโดยรอบและสังคมโดยรวม CSR ประกอบด้วย การปฏิบัติตามกฎหมายโดยเคร่งครัด โดยไม่ละเมิดต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การมีมาตรฐานและจรรยาบรรณที่ดี (Soft Laws) และการบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม
          CSR ตามหลักการของ United Nations Global Compact นั้นถือปฏิบัติใน 4 ด้านสำคัญคือ การไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชน การคุ้มครองแรงงาน การรักษาสิ่งแวดล้อม และการไม่ทุจริตและประพฤติมิชอบ การปฏิบัติต่อลูกค้า บังเอิญว่า ผมเป็นผู้แทนของ United Nations Global Compact ในประเทศไทย ท่านที่ประสงค์จะให้บริษัทได้ชื่อว่ามี CSR ที่แท้ ก็สมัครเป็นสมาชิก โดยติดต่อผมในฐานะผู้ประสานงานในไทยได้นะครับ
          ที่ผ่านมา เรามักได้ข่าวบริษัทพัฒนาที่ดินบางแห่งโกงชาวบ้าน จนถึงขั้นฟ้องร้อง ออกข่าวให้เสียชื่อเสียงไปโดยไม่จำเป็น บางแห่งก็ดูแลชุมชนไม่ดี โจรชุกชุม คนก็อาจไม่กล้าไปซื้อ หรือบางแห่งก็ใช้สัญญาที่ไม่เป็นธรรมกับลูกค้า หรือหลายแห่งก็ไม่ยอมทำตาม พรบ.คุ้มครองเงินดาวน์คู่สัญญา เพราะถือว่าเป็นกฎหมายแบบ ‘อาสาสมัคร’ คือจะทำก็ได้หรือไม่ทำก็ได้
          ดังนั้นในแวดวงอสังหาริมทรัพย์ของเราจึงยังไม่มีการคุ้มครองผู้บริโภคเท่าที่ควร ถ้าเราทำธุรกิจโดยคุ้มครองผู้บริโภคหรือลูกค้าของเรา ลูกค้าของเราก็จะเกิดความมั่นใจในแบรนด์ของเรา เราก็จะประสบความสำเร็จในที่สุด
          ด้วยเหตุนี้ บริษัทที่เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์จะเติบโตแบบยั่งยืนได้ ก็ต่อเมื่อมีการสร้างแบรนด์ที่ขายได้และน่าเชื่อถือ การทำ CSR จึงเป็นการสร้างแบรนด์ที่แท้จริง ไม่ใช่แค่การโฆษณาชวนเชื่อแบบตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ
          ผมจึงจะจัดงานใหญ่เรื่อง CSR ในการเสวนาวิชาการรายเดือนครั้งที่ 97 ในวันพุธที่ 27 ตุลาคม 2553 เวลา 13:00-17:00 น. ณ ห้องประชุมชั้น 17 บจก.บริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ ถ.สุรศักดิ์ กรุงเทพฯ
          ผมเป็นผู้แทน UN Global Compact ในประเทศไทย กรรมการสภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทยที่เป็นผู้ดูแล CSR สำหรับประเทศไทย และเป็นกรรมการหอการค้าสาขาจรรบรรณ จึงตั้งใจจะจัดงานนี้ให้ทุกท่านในแวดวงอสังหาริมทรัพย์ได้มาสร้างแบรนด์เพื่ออนาคตของวงการนี้จะได้เป็นที่เชื่อถือของผู้บริโภคยิ่งขึ้น
งานนี้ผมขอเชิญแฟน ๆ สยามรัฐฟรี แต่กรุณาแจ้งล่วงหน้าภายในวันที่ 26 ตุลาคม ศกนี้ที่ คุณปิยะดา โทรศัพท์ 0.2295.3171 ต่อ 105 E-mail: info@thaiappraisal.org และโปรดแจ้งว่าเป็นผู้อ่านคอลัมน์นี้จากสยามรัฐ จำกัดจำนวนแขกเพียง 50 ท่านแรกนะครับ และถ้าไม่แจ้งก่อนแล้วไปหน้างาน มูลนิธิคิดค่าบำรุง 750 บาท บริจาคเพื่อกิจกรรมสาธารณประโยชน์ที่ทางมูลนิธิจัดขื้น
          ท่านจะได้พบกับนางพนิตา กำภู ณ อยุธยา ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในฐานะประธานเปิดงาน กรณีศึกษา CSR ที่ทำได้จริง บจก.บริหารสินทรัพย์กรุงเทพพาณิชย์ โดยนายสุเมธ มณีวัฒนา กรรมการผู้จัดการใหญ่ บสก. และผู้รู้สำคัญอื่นได้แก่ ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ผศ.ดร.เกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์ จาก บมจ.เสนาดีเวลลอปเม้นท์ ดร.กนก อภิรดี อดีตกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ การบินไทย และนายสมปราชญ์ พลับแดง สำนักงานคณะกรรมการ ป.ป.ช.

วันพุธที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ภาคธุรกิจที่มี CSR ได้โอกาสก้าวสู่เจเนอเรชั่นใหม่

รัฐหนุน SE ธุรกิจแบบใหม่ คลัง-บีโอไอจ่อช่วยลดภาษี
18 พฤศจิกายน 2553 13:24 น.

*รัฐเดินหน้าผลักดัน “กิจการเพื่อสังคม” เต็มที่
*คลังจับมือบีโอไอ เตรียมมาตรการภาษีจูงใจให้เกิด Social Enterprise
*อภิรักษ์เดินหน้าดึงตลาดเงิน-ตลาดทุน อีกทั้งกรอ.หนุน
*ภาคธุรกิจที่มี CSR ได้โอกาสก้าวสู่เจเนอเรชั่นใหม่
       ประเทศไทยกำลังจะมีนิติบุคคลประเภทใหม่ที่จดทะเบียนประเภท “กิจการเพื่อสังคม” หรือ Social Enterprise และรัฐบาลเตรียมออกมาตรการสนับสนุนและส่งเสริมให้มีกิจการธุรกิจประเภทใหม่ที่ทำประโยชน์เพื่อสังคมอย่างเต็มที่
       ความเคลื่อนไหวดังกล่าวเมื่อเกิดผลสำเร็จก็จะเป็นผลงานเด่นชิ้นสำคัญในการสร้างพลังผนึกนโยบายรัฐกับความสามารถเชิงบริหารของภาคธุรกิจที่จะขับเคลื่อนการผลิตสินค้า และบริการที่มีคุณค่าต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างเต็มเปี่ยม
ยกระดับCSR ไปอีกขั้น
       ขณะเดียวกันนี่เป็นการยกระดับไปถึงขั้นจัดตั้งบริษัทเพื่อธุรกิจอย่างมีกำไรแต่มุ่งเพื่อประโยชน์ของสังคมและสิ่งแวดล้อม จึงต่างจากธุรกิจทั่วไปที่แม้จะเริ่มเป็นกระแสที่มีการแสดงจุดยืนการดำเนินกิจการ หรือมีกิจกรรมส่งเสริมสังคมและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
       อภิรักษ์ โกษะโยธิน ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ในฐานะรองประธานคณะกรรมการสร้างเสริมกิจการเพื่อสังคมแห่งชาติ ให้สัมภาษณ์ “ผู้จัดการ 360 องศา รายสัปดาห์” ว่า เพื่อส่งเสริมให้มีการจัดตั้งกิจการเพื่อสังคม จำเป็นต้องมีมาตรการจูงใจแก่ภาคธุรกิจที่จะลงทุนเพื่อการนี้
       “กิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise) นับเป็นวิวัฒนาการอีกขั้นหนึ่งต่อจากการมีความรับผิดชอบต่อสังคม (Social Responsibility) ซึ่งในระยะหลังได้มีองค์กรที่คำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม หรือมี CSR มากกว่าในอดีตที่ธุรกิจจะเน้นการแสวงหากำไรสูงสุด”
       อภิรักษ์ กล่าวว่า วิกฤติทางเศรษฐกิจและภัยธรรมชาติ ซึ่งเป็นผลจากปัญหาสิ่งแวดล้อม และภาวะโลกร้อน จึงเป็นโอกาสให้เกิดความตระหนกที่จะไม่เน้นการสร้างเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างเดียว แต่ต้องพัฒนาให้เกิดความสมดุลทั้งเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
       การจัดตั้งคณะกรรมการสร้างเสริมกิจการเพื่อสังคมแห่งชาติเมื่อเดือนพฤษภาคม 2553 ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และมีสำนักกงานบริหารอย่างจริงจังจึงเป็นหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงระดับนโยบายของประเทศที่มีเป้าหมายเพื่อสร้างการรับรู้และส่งเสริมให้เกิดกิจการเพื่อสังคม และพัฒนาขีดความสามารถของกิจการเพื่อสังคม เช่น มาตรการทางภาษี และกฏหมาย และการสร้างการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของกิจการเพื่อสังคม
ครม.เศรษฐกิจเห็นชอบหลักการ
       เช้าวันที่ 15 พฤศจิกายนที่ผ่านมา คณะกรรมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจได้ประชุมพิจารณาการส่งเสริมกิจการเพื่อสังคม ตามที่สำนักงานสร้างเสริมกิจการเพื่อสังคมแห่งชาติ (สกส.) ซึ่งข้อเสนอประกอบด้วย
       1.หลักเกณฑ์การจดทะเบียนกิจการเพื่อสังคม และมาตรการส่งเสริมกิจการเพื่อสังคม
       2.แนวทางการดำเนินงาน โดยกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise) หมายถึงกิจการที่ภาคเอกชนหรือภาคประชาชนเป็นเจ้าของ มีรายรับจากการขาย การผลิต หรือการให้บริการ ซึ่งมิได้มีเป้าหมายที่จะสร้างกำไรสูงสุดต่อผู้ถือหุ้นและเจ้าของ และมีลักษณะพิเศษ อาทิ กระบวนการผลิต การดำเนินกิจการ ไม่ก่อให้เกกิดผลเสียต่อเนื่องในระยะยาวต่อสังคม สุขภาวะ และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งมีการกำกับดุแลกิจการที่ดี และมีความยั่งยืนทางการเงินได้ด้วยตนเอง ตลอดจนมีการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้
       คณะกรรมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจ มีความเห็นว่า เรื่องนี้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลในการส่งเสริมกิจการเพื่อสังคม อย่างไรก็ตาม สกส.จำเป็นต้องกำหนดหลักเกณฑ์การพิจาณณาหรือนิยามของกิจการในลักษณะดังกล่าวที่ชัดเจน เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปพิจารณาในรายละเอียดการส่งเสริมหรือสนับสนุนในด้านต่างๆในอนาคตมีความเหมาะสมและชัดเจน
       ทั้งนี้ เพื่อให้มีความแตกต่างจากการสนับสนุนการทำ CSR กับการสนับสนุนกิจการเพื่อสาธารณะประโยชน์ (NGO) รวมทั้งควรมีกลไกในการตรวจสอบการดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการส่งเสริม “กิจการเพื่อสังคม”
       ที่ประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจ ได้มีมติเห็นชอบหลักเกณฑ์การจดทะเบียนกิจการเพื่อสังคม โดยมอบหมายให้ สกส.ปรับปรุงในรายละเอียดของนิยามให้ชัดเจนตามความเห็นของที่ประชุม รวมทั้งให้มีกลไกการตรวจสอบการดำเนินการ
       ทั้งนี้ ให้ สกส. หารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในกการกำหนดแนวทางการดำเนินงาน รวมทั้งมาตรการสนับสนุนและส่งเสริมกิจการเพื่อสังคมต่อไป
คลังเตรียมหนุนมาตรการภาษี
       ทั้งนี้เป็นผลต่อเนื่องจากการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมกิจการเพื่อสังคม ซึ่งมีนายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นประธาน เมื่อเร็วๆนี้ ที่ประชุมมีมติให้กระทรวงการคลัง คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน และหน่วยงานราชการอื่นๆ เร่งพัฒนามาตรการเพื่อเข้าคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจในครั้งนี้ โดยมอบกระทรวงการคลังให้เตรียมทำมาตรการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีกับนักลงทุนเพื่อสังคม การยกระดับองค์กรการเงินชุมชนให้เป็นสถาบันการเงินเพื่อการพัฒนาชุมชน เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจในระดับท้องถิ่นเพื่อสร้างความยั่งยืนในสังคม
       ที่ประชุมมีมติให้นำเสนอนโยบายตามยุทธศาสตร์สร้างเสริมกิจการเพื่อสังคมต่อคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจ ประกอบด้วย 2 เรื่องหลัก คือ
       1.พัฒนาแบบและขีดความสามารถกิจการเพื่อสังคม ผ่านการพัฒนาศูนย์บ่มเพาะกิจการเพื่อสังคม และการพัฒนาระบบเศรษฐกิจท้องถิ่นเพื่อสังคมยั่งยืน ซึ่งนำไปสู่การลดความเหลื่อมล้ำทางรายได้ทั้งในเชิงพื้นที่ พร้อมสร้างกลุ่มเศรษฐกิจเพื่อประโยชน์ชุมชน เช่น การท่องเที่ยวชุมชน กลุ่มการเงินชุมชน การค้าที่เป็นธรรม (Fair Trade) และ
       2.พัฒนาช่องทางเข้าถึงเงินทุนและทรัพยากร โดยเฉพาะการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีกับนักลงทุนเพื่อสังคม และการประสานกองทุนของรัฐที่มีอยู่แล้วมาลงทุนในกิจการเพื่อสังคมมากขึ้น
       คณะกรรมการยังมีมติให้รองประธาน อภิรักษ์ โกษะโยธิน นำเรื่องกิจการเพื่อสังคมเข้าที่ประชุม คณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ (กรอ.) เพื่อดึงภาคธุรกิจร่วมต่อยอดงาน CSR นำสู่การสนุบสนุนหรือจัดตั้งกิจการเพื่อสังคม ซึ่งเป็นการขยายความร่วมมือในการลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจที่เป็นรูปธรรม
เตรียมให้ BOI ช่วย
       อภิรักษ์ เปิดเผยว่า เพื่อส่งเสริมให้องค์กรเอกชนมีการลงทุนจัดตั้งกิจการเพื่อสังคม ซึ่งจะบริหารแบบมืออาชีพเชิงธุรกิจ แต่มีเป้าหมายเพื่อสังคมอย่างเต็มที่จึงสมควรมีมาตรการทางภาษีเป็นการส่งเสริมและจูงใจก็จะได้หารือกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ในการกำหนดธุรกิจประเภทใหม่ที่ได้สิทธิพิเศษทางภาษี
       ขณะเดียวกัน สกส. จะเป็นหน่วยงานทำหน้าที่ตรวจสอบคุณสมบัติของบริษัทที่จะเข้าเกณฑ์ได้รับการส่งเสริมด้วยมาตรการทางภาษี
       “กรมสรรพากรก็อาจมีการพิจารณาให้งดเว้นภาษีในช่วงเริ่มกิจการ หรือลดอัตราจัดเก็บภาษีนิติบุคคลให้ต่ำกว่าบริษัททั่วไป”
ให้ตลาดเงิน-ตลาดทุน หนุน
       นอกจากนี้ยังจะขอให้คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) ส่งเสริมให้บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์รวมทั้งกองทุนเพื่อการลงทุน มีการลงทุนในกิจการเพื่อสังคม และอาจส่งเสริมให้ธนาคารพาณิชย์ และธนาคารของรัฐสนับสนุนสินเชื่อด้วยการคิดอัตราดอกเบี้ยในอัตราต่ำ ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมสังคมทางหนึ่ง
       “ผมอยากเห็นบริษัทชั้นนำขนาดใหญ่ อย่างปตท. ปปูนซีเมนต์ไทย ที่ใช้งบประมาณช่วยเหลือสังคมเป็นจำนวนมากในแต่ละปี หากลงทุนจัดตั้งบริษัทประเภทกิจการเพื่อสังคมก็จะดำเนินการเลี้ยงตัวเองอย่างยั่งยืนได้ โดยไม่ต้องรอรับแต่การบริจาค”
เดินแนวอังกฤษ
       ยุคปัจจุบันธุรกิจในต่างประเทศทั้งในยุโรปและสหรัฐอเมริกาก็มีการจัดตั้งกิจการเพื่อสังคม ขณะที่ในเมืองไทยเราก็มีการดำเนินการในลักษณะกิจการเพื่อสังคมหลายรูปแบบ เช่น มีชัย วีระไวทยะ ซึ่งเริ่มจากสมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน ได้ต่อยอดขยายเครือข่ายเป็นกิจการเพื่อสังคมทั้งในรูปแบบภัตตาคาร ร้านอาหาร โรงแรม รีสอร์ท มีความมั่นคงและมีรายได้นำไปสร้างโรงเรียน และกิจกรรมพัฒนาการศึกษา และพัฒนาชุมชนได้อย่างกว้างขวาง
       อภิรักษ์ กล่าวว่า ในประเทศอังกฤษกำหนดระเบียบให้สามารถจ่ายเงินปันผลไม่เกิน 20% ของกำหรสุทธิอีก 80% ต้องนำกลับมาช่วยพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมตามความเหมาะสม ซึ่งประเทศไทยอาจใช้หลักการแบบนี้
       เมื่อมีมาตรการส่งเสริมหลายลักษณะจากภาครัฐตามแผนแม่บทส่งเสริมกิจการเพื่อสังคมดังกล่าวก็จะะมีส่วนในการส่งเสริมให้กิจการเพื่อสังคมเกิดและเติบโตได้มากขึ้น

นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง กล่าวปาฐกถา"นโยบายรัฐบาลในการส่งเสริมภาคเอกชนเกี่ยวกับ CSR"

นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง กล่าวปาฐกถา"นโยบายรัฐบาลในการส่งเสริมภาคเอกชนเกี่ยวกับ CSR" ในงาน "CSR Thailand 2011 -ไม่ทำไม่ได้แล้ว"ว่า บทบาทของรัฐบาลเพื่อช่วยเหลือสังคมปัจจุบันมีข้อจำกัด ซึ่งจากงบประมาณรายจ่ายแต่ละปีของไทยมีสัดส่วนประมาณ 16-17%ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี)เท่านั้นถือว่า น้อยมาก เมื่อเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้วเช่นอังกฤษที่มีรายจ่ายถึง 50%ของจีดีพี จึงมีงบเพียงพอในการดูแลสังคม ซึ่งหมายถึงการเก็บภาษีต้องสูงขึ้นด้วย

จากข้อจำกัดของรัฐบาล จึงต้องเร่งบทบาทให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมดูแลสังคมเพิ่มขึ้น ทั้งมาตรการที่เป็นการควบคุม เช่น การเก็บภาษีบาป และมาตรการสนับสนุนทางภาษี เช่น นิติบุคคลสามารถนำรายจ่ายจากการทำกิจกรรม CSR(กิจกรรมเพื่อสังคม) มาหักหย่อนภาษีได้ 2% ของกำไรสุทธิ บุคคลธรรมดาหักลดหย่อนได้ 10% ของรายได้ต่อปี รวมถึงมาตรการภาษีอื่นๆเช่น ภาษีนำเข้ารถยนต์อี-85 เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ภาษีการอ่าน และภาษีสิ่งแวดล้อม

อย่างไรก็ตามพบว่า เอกชนยังไม่ให้ความสนใจในการทำCSR เท่าที่ควร เห็นได้จากที่ผ่านมา ในส่วนของนิติบุคคล มีบริษัทมาขอลดหย่อนภาษีประมาณ 1.6 หมื่นบริษัทจากที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์กว่าแสนบริษัท และมีอัตราเฉลี่ยของคืนภาษีที่ 0.6-0.7% จากเป้า 2% ขณะที่บุคคลธรรมดาก็มีผู้ขอหักภาษีเฉลี่ย 3 แสนคน คิดเป็นอัตราขอคืนภาษี 2.6-2.7% จากเป้า 10% โดยวงเงิน ขอลดหย่อนภาษียังไม่ถึงครึ่งของเกณฑ์ที่ตั้งไว้

"ไม่ ใช่ว่า มาตรการภาษีไม่จูงใจ แต่อาจเป็นเพราะเอกชนไม่รู้สิทธิประโยชน์ของตัวเองหรือรู้แล้วแต่ไม่ทำ ลำพังรัฐบาลคงไม่สามารถลงไปดูแลสังคมได้ทั่วถึง จากข้อจำกัดหลายๆอย่าง ขณะที่เอกชนมีกำลังมากกว่า เช่นบางประเทศเอกชนรายหนึ่งมีรายได้สูงกว่าจีดีพีของประเทศทั้งปีด้วยซ้ำ คำถามคือเอกชนจะเริ่มโครงการเพื่อสังคมได้เมื่อใด จึงเป็นความท้าทายของเอกชนจากนี้ไป เพราะนอกจากเรื่องภาษีแล้ว เรื่องภาพลักษณ์ก็เป็นส่วนที่ประชาชนสนใจ" นายกรณ์ กล่าว

รายงานการประชุมคณะกรรมการสาธารณสุข ครั้งที่ 54-2/2552 วันศุกร์ที่ 12 มิถุนายน 2552

รายงานการประชุมคณะกรรมการสาธารณสุข

ครั้งที่ 54-2/2552

วันศุกร์ที่ 12 มิถุนายน 2552

ณ ห้องประชุมสมบูรณ์ วัชโรทัย

อาคาร 1 ชั้น 2 ตึกกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข นนทบุรี

******************************

คณะกรรมการผู้มาประชุม

1. นพ.ณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวพลา

แทนปลัดกระทรวงสาธารณสุข

ประธานการประชุม

2. นพ.มานิตย์ ธีระตันติกานนท์

อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

กรรมการ

3. นายวรศาสน์ อภัยพงษ์

แทนอธิบดีกรมควบคุมมลพิษ

กรรมการ

4. นางมาลี พงษ์โสภณ

แทนอธิบดีกรมควบคุมโรค

กรรมการ

5. นายไพโรจน์ แก้วมณี

แทนเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา

กรรมการ

6. นางพรทิพย์ จิรศรีสกุล

แทนอธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

กรรมการ

7. นายวินัย ลัฐิกาวิบูลย์

แทนอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

กรรมการ

8. นายยงยุทธ ทองสุข

แทนอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม

กรรมการ

9. นางภาวนาฏ บุนนาค

แทนอธิบดีกรมวิชาการเกษตร

กรรมการ

10. นายสนธิ คชวัฒน์

แทนเลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

กรรมการ

11. นางอินจิรา นิยมธูร

แทนปลัดกรุงเทพมหานคร

กรรมการ

12. นายสุคนธ์ เจียสกุล

กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ

กรรมการ

13. ศ.(พิเศษ)เรวัติ ฉ่ำเฉลิม

กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ

กรรมการ

14. นายสมชาย ตู้แก้ว

แทนอธิบดีกรมอนามัย

กรรมการและเลขานุการ

คณะกรรมการผู้ไม่มาประชุมเนื่องจากติดราชการ/ภารกิจ

15. อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง กรมโยธาธิการและผังเมือง

กรรมการ

16. นายกสมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย

กรรมการ

17. นายกสมาคมองค์การบริหารส่วนจังหวัดแห่งประเทศไทย

กรรมการ

18. นายกสมาคมองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งประเทศไทย

กรรมการ

19. ศ.ดร.สุนีย์ มัลลิกะมาลย์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ

กรรมการ

20. ศ.พิชิต สกุลพราหมณ์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ

กรรมการ

ผู้เข้าร่วมประชุม

1. นายไพโรจน์ สันตนิรันดร์

ผอ.กองสุขาภิบาลอาหาร สำนักอนามัย กทม.

2. นายจตุพร สังข์ทอง

นิติกร 4 เทศบาลเมืองบ้านบึง

3. น.ส.บัวทิพย์ ลิ้มภักดี

เจ้าพนักงานธุรการ เทศบาลเมืองบ้านบึง

ผู้เข้าร่วมประชุม (ต่อ)

 

4. นางนภพรรณ นันทพงษ์

นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการพิเศษ กองสุขาภิบาลอาหารและน้ำ

5. น.ส.อังคณา คงกัน

นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ กองสุขาภิบาลอาหารและน้ำ

6. นายโสภณ หมวดทอง

นักวิชาการสิ่งแวดล้อมชำนาญการพิเศษ กองสุขาภิบาลอาหารและน้ำ

7. นายสมศักดิ์ ศิริวนารังสรรค์

นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม

8. น.ส.ชมพูนุช คงสุขเลิศ

นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการ กรมควบคุมมลพิษ

9. นางสุรางค์ ศรีบุญเรือง

นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ กองสุขาภิบาลชุมชนฯ

10. นายสุชาติ สุขเจริญ

นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ กองสุขาภิบาลอาหารและน้ำ

11. นางพรพรรณ ไม้สุพร

นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการพิเศษ ศูนย์บริหารกฎหมายสาธารณสุข

12. นางสุวรรณา จีรโภคากุล

นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ ศูนย์บริหารกฎหมายสาธารณสุข

13. นางวิไลวรรณ มาเจริญทรัพย์

นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ ศูนย์บริหารกฎหมายสาธารณสุข

14. น.ส.วิภา รุจิจนากุล

นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ ศูนย์บริหารกฎหมายสาธารณสุข

15. นายสุพจน์ อาลีอุสมาน

นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ ศูนย์บริหารกฎหมายสาธารณสุข

16. นายเจนวิทย์ วิทยเดช

นิติกร ศูนย์บริหารกฎหมายสาธารณสุข

17. นายศุภชัย เครือเมฆ

พนักงานพิมพ์ดีดชั้น 3 ศูนย์บริหารกฎหมายสาธารณสุข

18. นายพรสิทธิ์ ศรีอรทัยกุล

นายกสมาคมสนามกอล์ฟไทย

19. นายบัณฑูร ชุณหสวัสดิกุล

เลขานุการสมาคมสนามกอล์ฟไทย

20. นายสมโภชน์ กาญจนาภรณ์

ผู้ทรงคุณวุฒิ สมาคมสนามกอล์ฟไทย

21. นางสุนันทา สมบุญธรรม

กรรมการ สมาคมสนามกอล์ฟไทย

22. นายธนัญ โสรัจจ์

กรรมการ สมาคมสนามกอล์ฟไทย

23. นายสมจิต ทองเผือก

ผู้เชี่ยวชาญด้านบำรุงรักษาสภาพแวดล้อม สมาคมสนามกอล์ฟไทย

เริ่มการประชุมเวลา 13.45 น.

วาระที่ 1 เรื่องประธานแจ้งที่ประชุมทราบ

ประธานการประชุม(นายแพทย์ณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวพลา อธิบดีกรมอนามัย)แจ้งให้ที่ประชุมทราบว่า ประธานคณะกรรมการสาธารณสุขติดราชการสำคัญ จึงได้มอบหมายให้อธิบดีกรมอนามัยทำหน้าที่ประธานการประชุม และอธิบดีกรมอนามัยได้มอบให้ผู้อำนวยการศูนย์บริหารกฎหมายสาธารณสุข(นายสมชาย ตู้แก้ว)ทำหน้าที่เลขานุการการประชุมแทน

มติคณะกรรมการฯ รับทราบ

/วาระที่ 2........

วาระที่ 2 เรื่องรับรองรายงานการประชุมคณะกรรมการสาธารณสุข ครั้งที่ 53-1/2552

แก้ไขหน้าที่ 1 บรรทัดที่ 2 คำว่า “แทนอธิบดีกรมควบคุมมลพิษ”

แก้ไขเป็น “อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ”

มติคณะกรรมการฯ รับรองรายงานการประชุมครั้งที่ 53-1/2552

วาระที่ 3 เรื่องสืบเนื่อง

ประธานการประชุมหารือต่อที่ประชุมว่า ขอให้เลื่อนวาระที่ 3.3 ตามระเบียบวาระการประชุมขึ้นมาพิจารณาเป็นลำดับแรกเพื่อให้คณะกรรมการฯได้รับฟังคำชี้แจงและสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมจากสมาคมสนามกอล์ฟไทย ต่อกรณีที่ขอให้ยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กิจการสนามกอล์ฟและสนามฝึกซ้อมกอล์ฟเป็นกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ

มติคณะกรรมการฯ เห็นชอบตามที่ประธานฯเสนอ

3.1 เรื่องสมาคมสนามกอล์ฟไทยขอให้พิจารณายกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กิจการสนามกอล์ฟเป็นกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ

ความเป็นมา

สืบเนื่องจากสมาคมสนามกอล์ฟไทยได้ทำหนังสือถึงประธานคณะกรรมการสาธารณสุขขอให้พิจารณายกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง กิจการสนามกอล์ฟและสนามฝึกซ้อมกอล์ฟเป็นกิจการ ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และประธานคณะกรรมการสาธารณสุขได้แจ้งให้ฝ่ายเลขาฯเชิญผู้แทนจากสมาคมสนามกอล์ฟไทยเข้าร่วมชี้แจงในการประชุมคณะกรรมการสาธารณสุขในครั้งนี้ด้วย ซึ่งนายกสมาคมสนามกอล์ฟไทยได้ชี้แจงต่อที่ประชุมถึงความจำเป็นที่ขอให้ยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุข เนื้อหาสรุปได้ดังนี้

1. กิจการสนามกอล์ฟและสนามฝึกซ้อมกอล์ฟเป็นกิจการที่ส่งเสริมกีฬาและสุขภาพให้แก่คนทุกเพศทุกวัย เป็นกีฬาที่ได้รับการส่งเสริมและยอมรับจากทั่วโลก

2. กิจการสนามกอล์ฟและสนามฝึกซ้อมกอล์ฟช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวและนำรายได้เข้าประเทศเป็นจำนวนมาก

3. กิจการสนามกอล์ฟและสนามฝึกซ้อมกอล์ฟช่วยสร้างอาชีพและก่อให้เกิดการจ้างงาน ไม่น้อยกว่า 100,000 ตำแหน่ง

4. สนามกอล์ฟและสนามฝึกซ้อมกอล์ฟส่งเสริมสภาพสิ่งแวดล้อมในทางบวกเป็นเหมือนสวนสาธารณะและเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์จำนวนมาก

5. สนามกอล์ฟและสนามฝึกซ้อมกอล์ฟมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อย แต่ละแห่งมีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชน้อยกว่าการทำการเกษตรอย่างอื่นในอัตราเนื้อที่ที่เท่ากัน มีการเก็บสำรองน้ำไว้ใช้เอง ไม่ได้ใช้น้ำจากแหล่งน้ำสาธารณะหรือแย่งน้ำจากเกษตรกร

/6. การกำหนด........

6. การกำหนดให้กิจการสนามกอล์ฟและสนามฝึกซ้อมกอล์ฟเป็นกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และมีการนำเสนอข่าวไปทั่วโลก ส่งผลกระทบด้านลบต่อภาพลักษณ์ของกิจการ ทำให้นักท่องเที่ยวไม่มาใช้บริการ รายได้ของประเทศลดลง

7. หากยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุขในเรื่องดังกล่าว จะทำให้ภาพลักษณ์ของการประกอบกิจการสนามกอล์ฟและสนามฝึกซ้อมกอล์ฟดีขึ้น สามารถแข่งขันกับประเทศอื่นๆได้ จะมีผลดีมากกว่าผลเสีย ซึ่งการยกเลิกสามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องผ่านการพิจารณาจากรัฐสภาเพราะเป็นอำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข

ความเห็นที่ประชุม

คณะกรรมการฯ ได้เสนอความเห็นต่อที่ประชุมในประเด็นนี้อย่างกว้างขวาง พอสรุปได้ดังนี้

1. กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพมีที่มาจากกิจการที่น่ารังเกียจตามพรบ.สาธารณสุข พ.ศ.2484 และเมื่อมีการยกร่างพรบ.การสาธารณสุข พ.ศ.2535 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น ”กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ” ซึ่งจากการประชุมพิจารณาทบทวนกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพเมื่อปี พ.ศ. 2551 คณะกรรมการฯที่เข้าประชุมเห็นพ้องร่วมกันว่า กิจการสนามกอล์ฟและสนามฝึกซ้อมกอล์ฟเป็นกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ แต่ควรเปลี่ยนไปใช้ชื่ออื่นเพื่อให้เป็นที่ยอมรับมากขึ้น อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนไปใช้ชื่ออื่นต้องแก้ไขในตัวกฎหมายซึ่งต้องมีกระบวนการดำเนินงานหลายขั้นตอน ใช้เวลามาก และขณะนี้ยังมีความคืบหน้าไม่มากนัก

2. กิจการสนามกอล์ฟและสนามฝึกซ้อมกอล์ฟเป็นกิจการที่มุ่งเน้นในเรื่องการส่งเสริมสุขภาพแต่ต้องมีการควบคุมกำกับดูแลเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบอันตรายต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ซึ่งหน่วยงานที่ทำหน้าที่กำกับดูแลคือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยใช้อำนาจตามมาตรา 32 แห่งพรบ.การสาธารณสุข พ.ศ. 2535 ประกาศกำหนดประเภทกิจการและหลักเกณฑ์เงื่อนไขควบคุมดูแลกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพในท้องถิ่นของตน แต่ข้อเท็จจริงในขณะนี้คือ ท้องถิ่นส่วนใหญ่ยังไม่ได้ประกาศกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขดังกล่าว

3. เหตุผลในการเสนอให้ยกเลิกการประกอบกิจการสนามกอล์ฟและสนามฝึกซ้อมกอล์ฟออกจากกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพยังมีข้อขัดแย้งทางวิชาการ เนื่องจากผลการศึกษาของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพบว่า กิจการสนามกอล์ฟมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในเรื่องการใช้น้ำ การใช้สารเคมี การใช้สารกำจัดแมลง ฯลฯ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการเสนอเพื่อกำหนดให้กิจการสนามกอล์ฟเป็น 1 ใน 17 ประเภทที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพอย่างรุนแรง และหากจะยกเลิกการประกอบกิจการสนามกอล์ฟและสนามฝึกซ้อมกอล์ฟออกจากกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพควรพิจารณากิจการประเภทอื่นด้วย เช่น การประกอบกิจการประเภทรำวง รองเง็ง เป็นต้น

4. ลักษณะการประกอบกิจการสนามกอล์ฟและสนามฝึกซ้อมกอล์ฟส่งผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมแตกต่างกัน โดยสนามกอล์ฟส่งผลกระทบในลักษณะที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพและการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ส่วนสนามฝึกซ้อมกอล์ฟส่งผลกระทบทางด้านเหตุรำคาญ จึงเสนอให้พิจารณาแยกกัน

กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ(ศ.พิเศษเรวัติ ฉ่ำเฉลิม) ได้ให้ข้อสังเกตต่อที่ประชุมว่า การใช้กฎหมายจะต้องสนับสนุนการพัฒนาประเทศ หากมีการใช้กฎหมายที่ไม่เป็นธรรมแล้วผู้เสียหายสามารถร้องต่อศาลปกครอง

/ให้ยกเลิก............

ให้ยกเลิกกฎหมายนั้นได้ ซึ่งการใช้กฎหมายเพื่อควบคุมดูแลกิจการใดๆจะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบว่าสามารถควบคุมการประกอบกิจการนั้นได้จริงหรือไม่ มีความเหมาะสมและมีกฎหมายอื่นที่ควบคุมอยู่แล้วหรือไม่ ซึ่งโดยปกติกีฬากอล์ฟไม่น่าจะเกิดอันตราย เว้นแต่เล่นโดยไม่ถูกวิธี

มติคณะกรรมการฯ

เพื่อให้มีข้อมูลประกอบการพิจารณาและตัดสินใจของคณะกรรมการสาธารณสุขจึงสมควรให้ตั้งคณะอนุกรรมการพิจารณาผลกระทบต่อสุขภาพจากกิจการสนามกอล์ฟและสนามฝึกซ้อมกอล์ฟ โดยมอบหมายให้นายสุคนธ์ เจียสกุล กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นประธานและมีผู้แทนจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องร่วมเป็นคณะอนุกรรมการด้วย มีระยะเวลาดำเนินการ 4 เดือน ให้นำกรอบของการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพมาเป็นแนวทางในการทำงาน และแยกประเด็นการพิจารณากิจการสนามกอล์ฟและสนามฝึกซ้อมกอล์ฟออกจากกัน

3.2 การออกประกาศกระทรวงสาธารณสุขเพื่อกำหนดให้การประกอบกิจการด้านการออกกำลังกายเป็นกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ

ความเป็นมา

ฝ่ายเลขาฯ ได้ชี้แจงต่อที่ประชุมว่า คณะกรรมาธิการคุ้มครองผู้บริโภค สภาผู้แทนราษฎร ได้เชิญกรมอนามัยเข้าร่วมพิจารณาแก้ไขปัญหาการให้บริการข้อสัญญาและการปฏิบัติตามเงื่อนไขในสัญญาของสถานบริการออกกำลังกาย (ฟิตเนส) ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคและสำนักงานอัยการสูงสุด เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2552 เนื่องจากได้รับการร้องเรียนจากประชาชนเป็นจำนวนมาก กรมอนามัยได้รายงานถึงการดำเนินงานในส่วนของกรมอนามัย โดยมีกรอบการดำเนินงานและระยะเวลา ในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคได้รายงานว่าอยู่ระหว่างดำเนินการให้กิจการสถานบริการออกกำลังกายเป็นกิจการที่ต้องควบคุมสัญญา เพื่อมิให้เกิดการหลอกลวงหรือเอารัดเอาเปรียบผู้บริโภค ซึ่งที่ประชุมคณะกรรมาธิการเห็นว่าการดำเนินงานทั้งในส่วนของกรมอนามัยและสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคจะต้องใช้เวลาอีกนานพอสมควร ไม่สอดคล้องกับสภาพปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนที่ต้องได้รับการแก้ไขโดยเร็ว จึงขอให้สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคและสำนักอัยการสูงสุดร่วมทำประกาศในเรื่องการดำเนินงานของสถานบริการออกกำลังกายที่มีการทำสัญญากับผู้บริโภคต้องมีเนื้อหา ข้อกำหนดเงื่อนไขอะไรบ้าง รวมถึงข้อมูลจากกรมอนามัยเกี่ยวกับมาตรฐานที่จำเป็นของสถานบริการออกกำลังกายเพื่อแจ้งประชาชนโดยเร็วที่สุด และในวันที่ 2 เมษายน 2552 คณะกรรมาธิการคุ้มครองผู้บริโภค สภาผู้แทนราษฎรได้มีหนังสือถึงอธิบดีกรมอนามัยให้พิจารณาดำเนินการ 2 ข้อดังนี้

1) ให้กรมอนามัยในฐานะกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการสาธารณสุขตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข 2535 เร่งผลักดันให้มีการออกประกาศกระทรวงสาธารณสุขเพื่อกำหนดให้การประกอบกิจการด้านการออกกำลังกายเป็นกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ

2) เร่งผลักดันและประกาศกำหนดหลักเกณฑ์ มาตรฐานของสถานประกอบกิจการด้านการออกกำลังกายเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคโดยส่วนรวม ตลอดจนเพื่อเป็นการกำหนดให้สถานประกอบกิจการด้านการออกกำลังกายมีมาตรฐานซึ่งต้องได้รับรองมาตรฐานจากหน่วยงานของรัฐ

/กองออกกำลังกาย..........

กองออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ กรมอนามัย ได้ดำเนินงานโครงการพัฒนาศักยภาพสถานประกอบกิจการด้านการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ ประจำปี 2552 โดยมีแผนการดำเนินงานดังนี้

1) ประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณาหลักเกณฑ์ มาตรฐานสถานประกอบกิจการด้านการออกกำลังกาย จำนวน 3 ครั้ง

- ครั้งที่ 1/2552 วันที่ 9 ธันวาคม 2551

- ครั้งที่ 2/2552 วันที่ 19 พฤษภาคม 2552

- ครั้งที่ 3/2552 เดือนสิงหาคม 2552

2) จัดจ้างสำนักวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศึกษาผลกระทบต่อสุขภาพ อันเกิดจากการให้บริการของสถานประกอบกิจการด้านการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ

3) จัดทำเอกสารเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ คู่มือเกณฑ์มาตรฐานของสถานประกอบกิจการฯ และเอกสารคู่มือประชาชนในการเลือกใช้บริการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ

สำหรับความก้าวหน้าในการดำเนินโครงการฯ มีดังนี้

1) การประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณาหลักเกณฑ์ มาตรฐานสถานประกอบกิจการด้านการออกกำลังกาย ครั้งที่ 2/2552 วันที่ 19 พฤษภาคม 2552 ณ ห้องประชุมกองออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ ผลการประชุมโดยสังเขป ดังนี้

1.1) อนุกรรมการที่เข้าร่วมประชุม จำนวน 22 คน โดยมีนายแพทย์โสภณ เมฆธน รองอธิบดีกรมอนามัย ซึ่งเป็นประธานคณะอนุกรรมการ เป็นประธานการประชุม

1.2) ที่ประชุมรับรองข้อแนะนำมาตรฐานสำหรับสถานประกอบกิจการด้านการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ 5 ด้าน ได้แก่ มาตรฐานด้านสถานที่หรือตัวอาคารและห้องออกกำลังกาย มาตรฐานด้านอุปกรณ์และเครื่องมือออกกำลังกาย มาตรฐานด้านสมาชิกและการบริการสมาชิก มาตรฐานด้านบุคลากรผู้ให้บริการ มาตรฐานด้านความปลอดภัยและขั้นตอนในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน

1.3) ที่ประชุมมีมติ ให้นำเสนอต่อคณะกรรมการสาธารณสุข เพื่อประกาศให้สถานประกอบกิจการด้านการออกกำลังกายเป็นกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพและให้นำข้อเท็จจริงที่ได้จากการจ้างสำนักวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศึกษาผลกระทบต่อสุขภาพอันเกิดจากการให้บริการของสถานประกอบกิจการด้านการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพมาประกอบการพิจารณา

1.4) ที่ประชุมเห็นด้วยกับข้อเสนอแนะการสร้างเครือข่ายเพื่อการพัฒนาศักยภาพสถานประกอบกิจการด้านการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพต่อเนื่องระยะเวลาประมาณ1-2 ปี โดยลักษณะการขับเคลื่อนโครงการเป็นการประกาศเจตนารมณ์ร่วมกับพันธมิตรและเครือข่ายสถานประกอบกิจการในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล เพื่อเผยแพร่ข้อแนะนำให้สถานประกอบกิจการนำไปปรับใช้ในการพัฒนาคุณภาพและร่วมกันจัดทำเกณฑ์มาตรฐานที่ได้ประโยชน์ทั้งภาครัฐและผู้ประกอบการ และหากสถานประกอบกิจการด้านการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ(ฟิตเนส)จะควบคุมตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 ให้เลือกเฉพาะมาตรฐานที่จำเป็นในประเด็นที่เป็นสาธารณะและมีผลกระทบต่อสังคมในวงกว้าง ที่กฎหมายไม่สามารถยกเว้นให้ได้

/1.5) ที่ประชุมมอบหมาย ……..

1.5) ที่ประชุมมอบหมายให้กองออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ ในฐานะอนุกรรมการและเลขานุการ พิจารณาคัดเลือกและยกร่างมาตรฐานที่จำเป็นที่จะประกาศเป็นมาตรการด้านกฎหมายพร้อมแนวทาง การติดตามประเมินผลและให้นำเสนอในการประชุมครั้งต่อไป

2) การจัดจ้างสำนักวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศึกษาผลกระทบต่อสุขภาพอันเกิดจากการให้บริการของสถานประกอบกิจการด้านการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ กรมอนามัย ได้ดำเนินการทำสัญญาจัดจ้างสำนักวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศึกษาผลกระทบต่อสุขภาพฯ โดยทางมหาวิทยาลัยได้มอบหมายให้อาจารย์สิทธา พงษ์พิบูลย์ และอาจารย์ฉัตรชัย มะสุนสืบ เป็นผู้รับผิดชอบ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการเก็บข้อมูลโดยสอบถามจากผู้ใช้บริการสถานประกอบกิจการและผู้ประกอบกิจการในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ทั้งนี้ คาดว่าจะแล้วเสร็จและรายงานผลภายในเดือนสิงหาคม 2552

ประเด็นเสนอเพื่อพิจารณา

เสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการสาธารณสุขเพื่อทราบ

ความเห็นของที่ประชุม

กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ(ศ.พิเศษเรวัติ ฉ่ำเฉลิม)ได้ให้ข้อสังเกตต่อที่ประชุมในกรณีนี้ว่า ควรพิจารณาให้ชัดเจนว่าการออกกำลังกายเป็นอันตรายหรือไม่ หรือเป็นอันตรายเพราะมีคนมาอยู่รวมกันจำนวนมาก เพราะการเล่นกีฬาทุกประเภทย่อมไม่เกิดอันตรายต่อสุขภาพเว้นแต่เล่นไม่ถูกวิธี ฉะนั้น การควบคุมควรอยู่ตรงไหนจึงจะเหมาะสม

มติคณะกรรมการฯ รับทราบการดำเนินงานตามที่เสนอ

3.3 การจัดทำคำแนะนำคณะกรรมการสาธารณสุข เรื่อง แนวทางการควบคุมการประกอบกิจการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ

ความเป็นมา

ฝ่ายเลขาฯ ได้ชี้แจงต่อที่ประชุมว่า การประชุมคณะกรรมการสาธารณสุข ครั้งที่ 53-1/2552 วันที่ 28 มกราคม 2552 วาระที่ 4.1.1 ข้อหารือของกรุงเทพมหานคร เรื่อง การประกอบกิจการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญเป็นกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือไม่ ที่ประชุมมีมติว่าการประกอบกิจการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญเป็นกิจการ ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ที่ 5/2538 เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ กิจการที่ 3(19) การผลิตน้ำกลั่น น้ำบริโภค และให้อนุกรรมการจัดทำหลักเกณฑ์มาตรฐานกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ จัดทำร่างคำแนะนำในเรื่องดังกล่าวเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการสาธารณสุข นั้น

กองสุขาภิบาลอาหารและน้ำ กรมอนามัยได้จัดทำร่างข้อกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตน้ำดื่มโดยตู้หยอดเหรียญเรียบร้อยแล้วและได้นำมาจัดทำร่างคำแนะนำของคณะกรรมการสาธารณสุข เรื่อง แนวทางการควบคุมการประกอบกิจการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ โดยแบ่งออกเป็น 7 ประเด็น คือ 1) นิยาม

/2) หลักเกณฑ์เกี่ยวกับ............

2) หลักเกณฑ์เกี่ยวกับสถานที่ตั้ง 3) หลักเกณฑ์เกี่ยวกับคุณลักษณะของตู้น้ำ 4) หลักเกณฑ์เกี่ยวกับแหล่งน้ำและการปรับปรุงคุณภาพน้ำ 5) หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการควบคุมคุณภาพมาตรฐานน้ำบริโภค 6) หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการบำรุงรักษาและการทำความสะอาด 7) หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการบันทึกและการรายงาน

ประเด็นเสนอเพื่อพิจารณา

คณะกรรมการสาธารณสุขจะเห็นชอบกับร่างคำแนะนำของคณะกรรมการสาธารณสุข เรื่อง แนวทางการควบคุมการประกอบกิจการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ ตามที่ฝ่ายเลขานุการเสนอหรือมีความเห็นเป็นประการอื่นใด

ความเห็นที่ประชุมฯ

คณะกรรมการฯได้เสนอความเห็นในประเด็นนี้อย่างกว้างขวาง พอสรุปเนื้อหาได้ดังนี้

1. ให้แก้ไขเนื้อหาในร่างคำแนะนำของคณะกรรมการสาธารณสุข เรื่อง แนวทางการควบคุมการประกอบกิจการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ ดังนี้

1) ข้อที่ 2.1 และ 2.2 คำว่า “ควร” ให้เปลี่ยนเป็น “ต้อง”

2) ข้อ 3.3 ให้เปลี่ยนเป็นคำว่า “หัวจ่ายน้ำและส่วนที่สัมผัสน้ำต้องทำจากวัสดุที่ใช้กับอาหารเท่านั้น (Food Grade) และหัวจ่ายน้ำต้องสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 60 เซนติเมตร

3) ข้อ 4.1 ให้ตัดคำว่า “พอสมควร” ออก

4) ข้อ 6.4 ให้เพิ่มคำว่า “หรือเมื่อพบผลการตรวจผิดปกติเกินมาตรฐาน”

5) คำว่า “หลักเกณฑ์” ที่ปรากฏในร่างคำแนะนำเป็นหลักเกณฑ์ในการปฏิบัติจริงหรือไม่

ส่วนข้อเสนออื่นๆ เช่น ระยะห่างจากถนน ความสูงของหัวจ่ายน้ำ วิธีการควบคุมคุณภาพน้ำ การบำรุงรักษาและการรักษาความสะอาด การควบคุมไฟฟ้า ฯลฯ ให้ไปกำหนดรายละเอียดในคู่มือการปฏิบัติงานสำหรับผู้ประกอบการ

2. การออกประกาศว่ากิจการใดเป็นอันตรายต่อสุขภาพจะต้องมีการจัดทำคำแนะนำและคู่มือการปฏิบัติสำหรับผู้ประกอบการ (Code of Practice) เพื่อให้ราชการส่วนท้องถิ่นนำไปใช้เป็นแนวทางออกข้อกำหนดกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขทั่วไปสำหรับผู้ประกอบกิจการปฏิบัติเกี่ยวกับการดูแลสภาพหรือสุขลักษณะ ตามมาตรา 32 (2) ของพรบ.การสาธารณสุข พ.ศ.2535 และอาจใช้เป็นข้อกำหนดในการขอต่ออายุใบอนุญาตด้วย โดยมอบให้เป็นหน้าที่ของสำนักวิชาการที่เกี่ยวข้องไปดำเนินการและจะต้องมีการวางแผนว่าจะถ่ายทอดองค์ความรู้ไปยังราชการส่วนท้องถิ่นได้อย่างไรต่อไป

3. การควบคุมคุณภาพน้ำบริโภคมีประกาศของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ซึ่งใช้อำนาจตามพรบ.อาหาร พ.ศ.2522 ควบคุมอยู่แล้ว แต่การควบคุมการประกอบกิจการจะต้องอาศัยอำนาจตามพรบ.การสาธารณสุข พ.ศ.2535 ซึ่งในทางปฏิบัติแล้วจะต้องมีการบูรณาการการทำงานร่วมกันจึงจะควบคุมได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีผลครอบคลุมทั้งประเทศ ซึ่งในกรณีนี้ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ(ศ.พิเศษเรวัติ ฉ่ำเฉลิม) ได้ให้ข้อสังเกตว่า โดยปกติแล้วการออกกฎหมายแต่ละฉบับจะเสริมกัน เพราะผ่านการพิจารณาจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้ว แต่ในทางปฏิบัติยังมีข้อขัดแย้งระหว่างหน่วยงานที่ใช้กฎหมาย อาจเป็นเพราะ

/ไม่เข้าใจ..............

ไม่เข้าใจเจตนารมณ์ที่แท้จริงของกฎหมาย จึงควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาทำความเข้าใจและดำเนินงานไปด้วยกัน

มติคณะกรรมการฯ

ที่ประชุมมีมติรับร่างคำแนะนำของคณะกรรมการสาธารณสุข เรื่อง แนวทางการควบคุมตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ และมอบหมายให้กองสุขาภิบาลอาหารและน้ำ กรมอนามัย จัดทำคู่มือการปฏิบัติสำหรับผู้ประกอบการด้วย

วาระที่ 4 เรื่องเสนอเพื่อพิจารณา

เนื่องจากเวลาการประชุมได้ล่วงเลยไปมาก ฝ่ายเลขาฯเสนอต่อที่ประชุมว่า ให้ถอนวาระที่ 4.1 การพิจารณาร่างกฎกระทรวงว่าด้วยสุขลักษณะของสถานที่จำหน่ายอาหาร พ.ศ. ...... ไปในการประชุมคราวต่อไป และให้เลื่อนวาระที่ 4.2 ขึ้นมาพิจารณาแทนวาระที่ 4.1

มติคณะกรรมการฯ เห็นชอบตามที่ฝ่ายเลขาฯ เสนอ

4.1 การแก้ไข/เพิ่มเติมคำสั่งคณะกรรมการสาธารณสุข เรื่อง การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ

ความเป็นมา

ฝ่ายเลขาฯได้นำเสนอต่อที่ประชุมว่า หน่วยงานในกรมอนามัยได้มีการเปลี่ยนแปลงผู้ปฏิบัติงานภายในหน่วยงาน ส่งผลให้คณะอนุกรรมการเดิมไม่สอดคล้องกับผู้รับผิดชอบที่เปลี่ยนแปลงใหม่ ฝ่ายเลขานุการฯ จึงเห็นควรแก้ไข/เพิ่มเติมคำสั่งคณะกรรมการสาธารณสุข เรื่อง การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ จำนวน 2 คณะ โดยการปรับเปลี่ยนเพิ่มเติมองค์ประกอบคณะอนุกรรมการให้สอดคล้องเหมาะสมและเป็นปัจจุบัน ดังนี้

4.1.1 คณะอนุกรรมการพิจารณากำหนดมาตรฐานวิชาการที่ใช้ในการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย และอัตราค่าธรรมเนียมในการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 จำนวนองค์ประกอบเดิม 25 คน จำนวนองค์ประกอบใหม่ 23 คน

4.1.2 คณะอนุกรรมการพิจารณายกร่างกฎกระทรวงว่าด้วยสุขลักษณะของสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร จำนวนองค์ประกอบเดิม 28 คน จำนวนองค์ประกอบใหม่ 28 คน

ประเด็นเสนอเพื่อพิจารณา

คณะกรรมการสาธารณสุขจะเห็นชอบตามที่ฝ่ายเลขานุการเสนอหรือมีความเห็นเป็นประการอื่นใด

ความเห็นที่ประชุมฯ

กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ(นายสุคนธ์ เจียสกุล) เสนอต่อที่ประชุมว่า ควรให้คณะอนุกรรมการและคณะทำงานแต่ละชุดที่ได้รับการแต่งตั้งต้องรายงานความก้าวหน้าของการดำเนินงานต่อที่ประชุมคณะกรรมการสาธารณสุขทุกครั้ง

มติคณะกรรมการฯ

เห็นชอบตามที่ฝ่ายเลขาฯเสนอ และให้บรรจุเรื่องการรายงานความก้าวหน้าของคณะอนุกรรมการและคณะทำงานชุดต่างๆ เป็นวาระประจำ

/วาระที่ 5..............

วาระที่ 5 เรื่องเพื่อทราบ

5.1 การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ (แก้ไข/เพิ่มเติม)

ความเป็นมา

ตามมติการประชุมคณะกรรมการสาธารณสุข ครั้งที่ 53-1/2552 เมื่อวันพุธที่ 28 มกราคม 2552 เห็นชอบให้แก้ไข/เพิ่มเติมคำสั่งคณะกรรมการสาธารณสุข เรื่อง การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ จำนวน 9 ฉบับ ดังนี้

1) คำสั่งคณะกรรมการสาธารณสุข ที่ 1/2552 เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535

2) คำสั่งคณะกรรมการสาธารณสุข ที่ 2/2552 เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ

3) คำสั่งคณะกรรมการสาธารณสุข ที่ 3/2552 เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการพิจารณาทบทวนประเภทกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ

4) คำสั่งคณะกรรมการสาธารณสุข ที่ 4/2552 เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเสนอข้อเท็จจริงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เพื่อวินิจฉัยอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535

5) คำสั่งคณะกรรมการสาธารณสุข ที่ 5/2552 เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการพิจารณากำหนดมาตรฐานวิชาการที่ใช้ในการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย และอัตราค่าธรรมเนียมในการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535

6) คำสั่งคณะกรรมการสาธารณสุข ที่ 6/2552 เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการจัดทำหลักเกณฑ์ มาตรฐานกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ

7) คำสั่งคณะกรรมการสาธารณสุข ที่ 7/2552 เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการพิจารณาหลักเกณฑ์ มาตรฐาน กิจการให้บริการดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน

8) คำสั่งคณะกรรมการสาธารณสุข ที่ 8/2552 เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการปรับปรุงกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและมาตรการในการควบคุมสถานประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (ฉบับที่..) พ.ศ. ....

9) คำสั่งคณะกรรมการสาธารณสุข ที่ 9/2552 เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการพิจารณากำหนดหลักเกณฑ์ มาตรฐานสถานประกอบกิจการด้านการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ

ทั้งนี้ ฝ่ายเลขานุการได้แจ้งให้สำนัก/กองวิชาการที่เป็นฝ่ายเลขานุการของคณะอนุกรรมการทราบแล้ว

มติคณะกรรมการ รับทราบตามที่ฝ่ายเลขาฯเสนอ

วาระที่ 6 เรื่องอื่นๆ

ไม่มี

ปิดการประชุม เวลา 16.45 น.

นายสุพจน์ อาลีอุสมาน บันทึกรายงานการประชุม

นายสมชาย ตู้แก้ว ตรวจรายงานการประชุม

การศึกษาผลกระทบจากกิจการสนามกอล์ฟและสนามฝึกซ้อมกอล์ฟ

การศึกษาผลกระทบจากกิจการสนามกอล์ฟและสนามฝึกซ้อมกอล์ฟ

โดย นางพรพรรณ ไม้สุพร นักวิชาการสาธารณสุข 7 ว

นางนัทฐ์หทัย ไตรฐิ่น นักวิชาการสาธารณสุข 7 ว

นางวิไลวรรณ มาเจริญทรัพย์ นักวิชาการสาธารณสุข 7 ว

ศูนย์บริหารกฎหมายสาธารณสุข กรมอนามัย

1. บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้สืบเนื่องจากสมาคมสนามกอล์ฟไทยได้ร้องเรียนต่อคณะกรรมาธิการการกีฬา วุฒิสภา และเลขาธิการนายกรัฐมนตรีว่า ได้รับความเดือดร้อน ไม่เป็นธรรมและเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนา รวมทั้งการส่งเสริมกีฬากอล์ฟ จากการบังคับใช้ของกฎหมาย 2 ฉบับ คือ 1) ประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่ 5/2538 ตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 เรื่องกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ซึ่งกำหนดให้กิจการสนามกอล์ฟหรือสนามฝึกซ้อมกอล์ฟเป็นกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และ 2) พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2546 กำหนดให้สนามกอล์ฟเป็นกิจการที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จึงขอให้รัฐบาลพิจารณาทบทวนกฎหมายดังกล่าวด้วยนั้น

กระทรวงสาธารณสุข โดยคณะกรรมการสาธารณสุขจึงได้มอบหมายให้คณะอนุกรรมการ

พิจารณาทบทวนประเภทกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพศึกษาเป็นกรณีเร่งด่วน เพื่อหาข้อสรุปว่ากิจการสนามกอล์ฟและสนามฝึกซ้อมกอล์ฟเป็นกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือเป็นกิจการที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหรือไม่ โดยทำการศึกษาจากเอกสาร ผลการศึกษาที่เกี่ยวข้อง จากการเก็บข้อมูลและสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ เจ้าของหรือผู้จัดการ แค้ดดี้ พนักงาน ผู้รับบริการ ครูฝึก และประชาชนผู้อยู่อาศัยใกล้เคียง ตลอดจนการเก็บข้อมูลจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดปริมณฑล และจังหวัดใกล้เคียง รวม 9 จังหวัด ผลการศึกษาพบว่า กิจการสนามกอล์ฟและสนามฝึกซ้อมกอล์ฟมีความเสี่ยงในการก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพของผู้รับบริการและผู้ให้บริการ ตลอดจนทรัพย์สินของผู้อยู่อาศัยใกล้เคียงและผลกระทบจากการใช้สารเคมีในสนามกอล์ฟซึ่งในต่างประเทศพบว่ามีการใช้สารเคมีจำนวนมากและหลายชนิด จากปุ๋ยยาฆ่าแมลง และยาปราบศัตรูพืช ที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของผู้ให้บริการ ผู้รับริการ และผู้อยู่อาศัยใกล้เคียง ในด้านความคิดเห็นของผู้ประกอบกิจการสนามกอล์ฟและสนามฝึกซ้อมกอล์ฟ ส่วนใหญ่เห็นว่าเป็นกิจการที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพที่ควรมีการควบคุม แต่ควรเปลี่ยนชื่อใหม่เพื่อมิให้ขัดต่อกิจการที่เป็นการส่งเสริมการออกกำลังกาย

โดยมีข้อเสนอต่อคณะกรรมการสาธารณสุขว่า การประกอบกิจการสนามกอล์ฟและสนามฝึกซ้อมกอล์ฟก่อให้เกิดผลกระทบทางบวก โดยเฉพาะสุขภาพอนามัยและความสัมพันธ์ของคนกลุ่มต่างๆรวมทั้งผลทางเศรษฐกิจ การสร้างงานแล้ว ยังก่อให้เกิดผลกระทบในเชิงลบต่อสุขภาพอนามัยและสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ดังนั้นกิจการนี้จึงจำเป็นต้องถูกควบคุมเพื่อให้มีการดำเนินการที่ได้มาตรฐานและไม่ก่อให้เกิดผลกระทบทั้งผู้ให้บริการ ผู้รับบริการ สังคมชุมชน และสิ่งแวดล้อมด้วย แต่ทั้งนี้ควรเปลี่ยนชื่อ “กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ” เป็น “กิจการที่ต้องควบคุมเพื่อคุ้มครองสุขภาพ” แทน เพื่อสื่อให้คนทั่วไปสามารถเข้าใจได้ว่าจำเป็นต้องควบคุม แต่ไม่ถึงขั้นที่จะทำให้น่ากลัวอันตราย หรือมองไปในทางลบทั้งหมด

2. บทนำ

สืบเนื่องจากคณะกรรมาธิการการกีฬา วุฒิสภา และเลขาธิการนายกรัฐมนตรีได้มีหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการสาธารณสุข แจ้งรายงานผลการพิจารณาศึกษาของคณะอนุกรรมาธิการ กรณีที่สมาคมสนามกอล์ฟไทยได้ร้องเรียนต่อคณะกรรมาธิการการกีฬาว่าได้รับความเดือดร้อนและไม่เป็นธรรมอันเนื่องจากการบังคับใช้กฎหมาย 2 ฉบับ คือ

1) ประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่ 5/2538 ตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 เรื่องกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ซึ่งกำหนดให้กิจการสนามกอล์ฟหรือสนามฝึกซ้อมกอล์ฟเป็นกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และ

2) พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 (ฉบับที่

4) พ.ศ. 2546 กำหนดให้สนามกอล์ฟเป็นกิจการที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

โดยได้สรุปว่ากฎหมายทั้ง 2 ฉบับ ไม่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง ส่งผลให้เกิดสภาพ

ความไม่เป็นธรรมต่อผู้ประกอบกิจการสนามกอล์ฟ และเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาและส่งเสริมกิจการสนามกอล์ฟ กีฬากอล์ฟ และนโยบายสนับสนุนส่งเสริมกิจการการท่องเที่ยวของรัฐบาล จึงขอให้รัฐบาลพิจารณาทบทวนกฎหมายดังกล่าว และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องศึกษาวิจัยสนามกอล์ฟและสนามฝึกซ้อมกอล์ฟว่าเป็นกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือเป็นกิจการที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหรือไม่ เพื่อนำผลการศึกษาวิจัยไปใช้ประกอบในการแก้ไขกฎหมายต่อไป ซึ่งรองนายกรัฐมนตรี(นายจาตุรนต์ ฉายแสง) และรองนายกรัฐมนตรี (พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ) มีบัญชาให้กระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงการคลัง พิจารณาในส่วนที่เกี่ยวข้องแล้วรายงานให้คณะกรรมาธิการการกีฬา วุฒิสภา และเลขาธิการนายกรัฐมนตรีทราบต่อไปด้วย นั้น

กระทรวงสาธารณสุข โดยคณะกรรมการสาธารณสุขได้มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ

พิจารณาทบทวนประเภทกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ทำหน้าที่พิจารณาทบทวนแก้ไขประกาศกระทรวงสาธารณสุข ที่ 5/2538 เรื่องกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพทุกกิจการ รวมทั้งศึกษาเป็นการเร่งด่วน กรณีกิจการสนามกอล์ฟหรือสนามฝึกซ้อมกอล์ฟว่าควรจะประกาศยกเลิกการเป็นกิจการที่ต้องควบคุมในลักษณะกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือไม่ และคณะอนุกรรมการฯได้มอบหมายให้กลุ่มบริหารกฎหมายสาธารณสุข กรมอนามัย ศึกษาผลกระทบของกิจการสนามกอล์ฟและสนามฝึกซ้อมกอล์ฟ เพื่อประกอบในการพิจารณาของคณะอนุกรรมการฯ

3. วัตถุประสงค์

1. เพื่อหาข้อสรุปว่ากิจการสนามกอล์ฟและสนามฝึกซ้อมกอล์ฟเป็นกิจการที่เป็นอันตราย

ต่อสุขภาพหรือเป็นกิจการที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหรือไม่

2. เพื่อรายงานผลการศึกษาให้คณะกรรมการสาธารณสุข คณะกรรมาธิการการกีฬา วุฒิสภา

และเลขาธิการนายกรัฐมนตรีทราบ

4. วิธีการดำเนินงาน

ในการศึกษาผลกระทบของกิจการสนามกอล์ฟและสนามฝึกซ้อมกอล์ฟ ว่าเป็นกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือไม่นั้น ได้ใช้คำนิยามของคำว่า “กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ” เป็นกรอบในการกำหนดแนวทางการศึกษา ทั้งนี้โดยศึกษาเพื่อหาข้อมูลว่ากิจการสนามกอล์ฟและสนามฝึกซ้อมกอล์ฟเป็นการให้บริการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อผู้ให้บริการหรือผู้ปฏิบัติงานในสถานที่นั้น หรือมีผลกระทบต่อผู้รับบริการ หรือผลกระทบต่อประชาชน ชุมชนและสิ่งแวดล้อม ดังนั้นคณะผู้ศึกษาจึงได้กำหนดขอบเขตการศึกษาเป็น 4 ส่วน คือ 1) ศึกษาผลกระทบต่อผู้ให้บริการ 2) ศึกษาผลกระทบต่อผู้รับบริการ 3) ศึกษาผลกระทบต่อประชาชนและชุมชนที่อาศัยอยู่โดยรอบ และ 4) ศึกษาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

ในการศึกษาครั้งนี้มีข้อจำกัด คือ เนื่องจากมีระยะเวลาและงบประมาณจำกัด จึงได้ศึกษาข้อมูลจากสนามกอล์ฟและสนามฝึกซ้อมกอล์ฟที่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และจังหวัดใกล้เคียง โดยใช้วิธีการสอบถามด้วยแบบสัมภาษณ์ ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาข้อมูลเชิงคุณภาพ แต่ข้อมูลผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการใช้สารเคมีและการใช้น้ำนั้น ต้องศึกษาด้วยวิธีการอื่นเพิ่มเติม ในที่นี้จึงได้ใช้วิธีการทบทวนจากเอกสารเป็นหลัก

4.1 พื้นที่ศึกษา

สำรวจเก็บข้อมูลสนามกอล์ฟและสนามฝึกซ้อมกอล์ฟ รวม 22 แห่ง ในพื้นที่ 9 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี จังหวัดนครปฐม จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดชลบุรี และจังหวัดนครนายก

4.2 เครื่องมือศึกษา

เก็บข้อมูลโดยใช้วิธีการจัดทำแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างที่เกี่ยวข้อง และการทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาข้อมูลผลกระทบจากกิจการสนามกอล์ฟและสนามฝึกซ้อมกอล์ฟ ดังนี้

1) ศึกษาผลกระทบต่อผู้ให้บริการ โดยการสอบถามข้อมูลจากเจ้าของหรือผู้จัดการสนามกอล์ฟ

และสนามฝึกซ้อมกอล์ฟ แค้ดดี้ พนักงาน

2) ศึกษาผลกระทบต่อผู้รับบริการ โดยการสอบถามข้อมูลผู้มาใช้บริการโดยตรง และมีข้อมูล

ทางอ้อมโดยการสอบถามเจ้าของหรือผู้จัดการ แค้ดดี้ และพนักงานอื่นๆ

3) ศึกษาผลกระทบต่อประชาชนและชุมชนที่อาศัยอยู่โดยรอบ โดยการสอบถามข้อมูลจาก

ประชาชนที่อาศัยอยู่โดยรอบ และมีข้อมูลทางอ้อม โดยการสอบถามจากเจ้าของหรือผู้จัดการ แค้ดดี้ และพนักงานอื่น ผู้ใช้บริการ รวมทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยเฉพาะกรณีเหตุเดือดร้อนรำคาญจากกิจการสนามกอล์ฟและสนามฝึกซ้อมกอล์ฟ

4) การศึกษาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ได้จากการสอบถามเจ้าของหรือผู้จัดการ ถึงการใช้

สารเคมี การใช้น้ำ และผลกระทบอื่นๆ

นอกจากนี้ ยังได้ทบทวนเอกสารเพื่อหาข้อมูลผลกระทบต่อกลุ่มต่างๆที่กล่าวมาข้างต้น เพื่อประกอบการพิจารณาอีกด้วย

4.3 กลุ่มตัวอย่าง

ได้สำรวจเก็บข้อมูลสนามกอล์ฟและสนามฝึกซ้อมกอล์ฟ 22 แห่ง แบ่งเป็น สนามกอล์ฟ 10 แห่ง และสนามฝึกซ้อมกอล์ฟ 12 แห่ง ในพื้นที่ 7 จังหวัด โดยการสอบถามข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ดังต่อไปนี้

1) สอบถามผู้ให้บริการแห่งละประมาณ 23 คน รวม 263 คน ประกอบด้วย

(1) เจ้าของหรือผู้จัดการ แห่งละ 1 คน เก็บข้อมูลได้ 22 คน(จาก 22 แห่ง)

(2) แค้ดดี้ แห่งละประมาณ 10 คน เก็บข้อมูลได้ 124 คน (เฉพาะสนามกอล์ฟ 10 แห่ง)

(3) พนักงานอื่นๆ (เช่น คนสวน พนักงานเสิร์ฟ พนักงานขาย พนักงานขับรถกอล์ฟ

พนักงานซ่อมบำรุงรถกอล์ฟ) แห่งละประมาณ 10 คน ซึ่งเก็บข้อมูลได้ 111 คน (จาก 22 แห่ง)

(4) ครูฝึก แห่งละประมาณ 1-2 คน ซึ่งเก็บข้อมูลได้เพียง 6 คน(เฉพาะสนามกอล์ฟ 10 แห่ง)

2) สอบถามผู้รับบริการ แห่งละประมาณ 3-5 คน ซึ่งเก็บข้อมูลได้เพียง 48 คน(จาก 22 แห่ง)

3) สอบถามประชาชนที่อยู่รอบสนามกอล์ฟและบริเวณใกล้เคียงแห่งละประมาณ 5 คน (หลังคาเรือนละ

1 คน) ซึ่งเก็บข้อมูลได้เพียง 10 คน (เฉพาะสนามฝึกซ้อมกอล์ฟ 12 แห่ง และเนื่องด้วยขณะเข้าไปสัมภาษณ์

ไม่พบผู้อยู่อาศัยในบ้านดังกล่าวจึงเก็บข้อมูลได้เพียง 10 หลังคาเรือนๆละ 1 คน รวม 10 คน)

4) สอบถามข้อมูลจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 20 แห่ง ในพื้นที่ 9 จังหวัด ในเรื่องการออกข้อกำหนดของท้องถิ่น การอนุญาตประกอบกิจการ การตรวจตราดูแล การเก็บค่าธรรมเนียมใบอนุญาต และเรื่องร้องเรียนจากกิจการสนามกอล์ฟและสนามฝึกซ้อมกอล์ฟ

5. ผลการศึกษา

ผลจากการศึกษา พบว่า

1) ผลกระทบต่อสุขภาพของผู้รับบริการและผู้ให้บริการ

กิจการสนามกอล์ฟและสนามฝึกซ้อมกอล์ฟยังมีส่วนก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพของ

ผู้รับบริการและผู้ให้บริการในการได้รับบาดเจ็บที่เกิดจากลูกกอล์ฟและการตีกอล์ฟมากเกินไป(ผู้ตีกอล์ฟได้รับบาดเจ็บหรือทรัพย์สินเสียหาย 5 คน/46 คน (ร้อยละ 10.87) และเห็นผู้ตีกอล์ฟคนอื่นได้รับบาดเจ็บหรือเสียทรัพย์สินเสียหาย 9 คน/46 คน (ร้อยละ 19.57) ผู้ให้บริการได้รับบาดเจ็บหรือทรัพย์สินเสียหาย 39 คน/241 คน (ร้อยละ 16.18)และเคยเห็นผู้ให้บริการคนอื่นได้รับบาดเจ็บหรือทรัพย์สินเสียหาย 61 คน/241 คน(ร้อยละ 25.31) ทั้งจากการสัมภาษณ์ สอบถาม และจากข้อมูลของอาจารย์ครอบจักร งามมีศรี ซึ่งเป็นคดีความที่เกิดขึ้นในประเทศไทย และจากข้อมูลการบาดเจ็บจากการตีกอล์ฟมากเกินไปของอาจารย์วีระยุทธ เชาวน์ปรีชา โรงพยาบาลวิภาวดี ซึ่งถึงแม้ว่าจะมีจำนวนไม่มาก แต่ก็เป็นความเสี่ยงต่อสุขภาพของประชาชนที่รัฐควรเข้ามาควบคุมกำกับดูแล

2) ผลกระทบต่อประชาชนและชุมชนที่อาศัยอยู่โดยรอบ

2.1) ข้อมูลจาการสัมภาษณ์ประชาชนที่อยู่รอบสนามกอล์ฟและสนามฝึกซ้อมกอล์ฟ จำนวน 4

แห่ง ที่มีบ้านอยู่ติดกับสนามกอล์ฟและระหว่างที่เข้าไปสัมภาษณ์พบมีผู้อยู่อาศัย โดยสัมภาษณ์หลังคาเรือนละ 1 คน รวม 10 คน พบว่าผู้ที่อยู่อาศัยใกล้สนามกอล์ฟและสนามฝึกซ้อมกอล์ฟบางส่วนได้รับผลกระทบจากลูกกอล์ฟ ทำให้ทรัพย์สินเสียหาย เช่น หลังคา กระจกบ้าน และรถยนต์ (ผู้ตอบแบบสอบถาม 7 หลัง คิดเป็นร้อยละ 70) ทรัพย์สินของตนได้รับความเสียหาย ส่วนอีก 3 หลัง (ร้อยละ 30) ให้ข้อมูลว่า ทรัพย์สินของเพื่อนบ้านได้รับความเสียหาย

2.2) ข้อมูลจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พบว่าจากการตรวจแนะนำสถานประกอบการ มี 2 แห่งที่ลูกกอล์ฟลอยข้ามแผงกั้นออกไปนอกสนามทำความเสียหายให้กับรถยนต์และบ้านที่อยู่โดยรอบ และเคยได้รับเรื่องร้องเรียนจากประชาชน 8 แห่ง ได้แก่ เรื่องลูกกอล์ฟโดนหลังคาบ้าน กระจกรถยนต์ที่ขับผ่านมาแตก และเรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น การปล่อยน้ำเสียลงสู่ลำคลองสาธารณะและชุมชน การเผาขยะก่อให้เกิดกลิ่นเหม็น ควันไฟและฝุ่นละออง เป็นต้น

3) ผลกระทบจากการใช้สารเคมีในสนามกอล์ฟ

ในการศึกษาครั้งนี้ไม่ปรากฏผลเด่นชัดเนื่องจากเป็นการสัมภาษณ์ สอบถามและค้นคว้าจาก

เอกสารในเวลาสั้นๆ แต่จากผลของการศึกษาในต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา พบว่า มีการใช้สารเคมีจำนวนมากและหลายชนิด จากปุ๋ย ยาฆ่าแมลง และยาปราบศัตรูพืช ที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของผู้ให้บริการ ผู้รับบริการ และผู้อยู่อาศัยใกล้เคียง

4) ความคิดเห็นของผู้ประกอบกิจการสนามกอล์ฟและสนามฝึกซ้อมกอล์ฟ

ส่วนใหญ่เห็นว่าเป็นกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพควรมีการควบคุม แต่ควรเปลี่ยนชื่อใหม่

เพื่อไม่ให้ขัดต่อกิจการที่เป็นการส่งเสริมการออกกำลังกาย ร้อยละ 61.11 และเห็นว่ากิจการสนามกอล์ฟและสนามฝึกซ้อมกอล์ฟ ไม่ควรเป็นกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ร้อยละ 38.89

5) ข้อมูลการควบคุมการประกอบการกิจการสนามกอล์ฟของต่างประเทศ

การประกอบกิจการสนามกอล์ฟในต่างประเทศนั้น ส่วนใหญ่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

หลายฉบับ เช่น กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยของคนทำงาน กฎหมายควบคุมการใช้

สารเคมี เป็นต้น

ในสหรัฐอเมริกา ผู้ประกอบการสนามกอล์ฟต้องขอใบอนุญาตซื้อสารเคมีกำจัดศัตรูพืช และ

ใบอนุญาตใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช และจะมีการตรวจตราและควบคุมการใช้สารเคมีตามกฎหมาย The Federal

Insecticides, Fungicide and Rodenticide Act. ซึ่งในแต่ละรัฐอาจมีการควบคุมเพิ่มเติม เช่น

Vermont Regulation for Control of Pesticide ส่วนในรัฐแมรี่แลนด์กำลังจะออกกฎหมายเกี่ยวกับการปรับปรุง

พื้นที่ที่จะทำสนามกอล์ฟจำเป็นต้องประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมก่อน โดยให้เหตุผลว่า สนามกอล์ฟมีการใช้สารเคมีกำจัดแมลงค่อนข้างสูง และใช้ในลักษณะของการรักษาสถานที่ให้เขียวชอุ่มตลอดเวลา

โดยสรุปการประกอบกิจการสนามกอล์ฟและสนามฝึกซ้อมกอล์ฟก่อให้เกิดผลกระทบทางบวก โดยเฉพาะด้านสุขภาพอนามัยและความสัมพันธ์ของคนกลุ่มต่างๆรวมทั้งผลทางเศรษฐกิจ การสร้างงานแล้ว ยังก่อให้เกิดผลกระทบในเชิงลบต่อสุขภาพอนามัยและสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ดังนั้นกิจการนี้จึงจำเป็นต้องถูกควบคุมเพื่อให้มีการดำเนินการที่ได้มาตรฐานและไม่ก่อให้เกิดผลกระทบทั้งผู้ให้บริการ ผู้รับบริการ สังคมชุมชน และสิ่งแวดล้อมด้วย แต่ทั้งนี้ควรเปลี่ยนชื่อ “กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ” เป็น “กิจการที่ต้องควบคุมเพื่อคุ้มครองสุขภาพ” แทน เพื่อสื่อให้คนทั่วไปสามารถเข้าใจได้ว่าจำเป็นต้องควบคุม แต่ไม่ถึงขั้นที่จะทำให้น่ากลัวอันตราย หรือมองไปในทางลบทั้งหมด

6. การนำไปใช้ประโยชน์

ผลจากการศึกษาครั้งนี้จะใช้เป็นข้อมูลเสนอต่อคณะกรรมการสาธารณสุข คณะกรรมาธิการการกีฬา วุฒิสภา และเลขาธิการนายกรัฐมนตรีทราบ เพื่อประกอบการพิจารณาว่ากิจการดังกล่าวเป็นกิจการที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ และสิ่งแวดล้อมหรือไม่ เห็นควรที่จะคงอยู่หรือยกเลิกจากการเป็นกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข

7. ความยุ่งยากในการดำเนินงาน/ปัญหา/อุปสรรค

ในการศึกษาครั้งนี้มีข้อจำกัด คือ เนื่องจากมีระยะเวลาและงบประมาณจำกัด จึงได้ศึกษา

ข้อมูลจากสนามกอล์ฟ และสนามฝึกซ้อมกอล์ฟที่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพฯ ปริมณฑล และจังหวัดใกล้เคียง และใช้วิธีสอบถามด้วยแบบสัมภาษณ์ ซึ่งจะได้ข้อมูลตามความคิดเห็น ส่วนผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการใช้สารเคมีและการใช้น้ำก็ศึกษาด้วยการทบทวนจากเอกสารเป็นหลัก โดยมิได้มีการเก็บตัวอย่างส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ ตลอดจนมีความยุ่งยากในการไม่ได้รับความร่วมมือจากผู้ประกอบการในการให้ข้อมูล หรือการตรวจสอบสารเคมีที่ใช้ เป็นต้น

8. ข้อเสนอแนะ

เพื่อป้องกันและลดผลกระทบจากการประกอบกิจการสนามกอล์ฟแลสนามฝึกซ้อมกอล์ฟ คณะผู้ศึกษามีข้อเสนอแนะดังนี้

1) เงื่อนไขสำคัญของการควบคุมการประกอบกิจการนี้ ควรเน้นหนักที่ให้มีการใช้สารเคมีกำจัด

ศัตรูพืชอย่างถูกวิธี

2) ควรมีมาตรฐานด้านสถานที่เพื่อเป็นการป้องกันอันตราย เช่น ควรตั้งอยู่ห่างจากชุมชน และ

ไม่ควรตั้งอยู่ในเขตเมือง แต่หากมีความจำเป็นควรมีแผงตาข่ายกั้นและมีการบำรุงรักษาให้อยู่ในสภาพที่ดีอยู่เสมอ เป็นต้น

3) ควรจัดให้มีห้องปฐมพยาบาลขั้นต้นที่มีบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติอยู่บริการ

ตลอดเวลาที่สนามเปิดให้บริการและควรจัดทำแผนฉุกเฉินรองรับกรณีมีอันตรายร้ายแรงและจำเป็นต้องส่งรักษาโดยเร่งด่วน

4) ทุกสนามควรจัดอบรมให้กับผู้ให้บริการทุกคน ให้ความรู้ในเรื่องกฎกติกาเกี่ยวกับกีฬา

กอล์ฟสำหรับการปฏิบัติงานครั้งแรก และมีการอบรมทบทวนความรู้เป็นประจำ รวมทั้งต้องมีสวัสดิการประกันสังคมให้กับพนักงานทุกคนด้วย

5) สนามกอล์ฟควรมีกฎกติกาที่เข้มงวด โดยมีการกำหนดระดับความสามารถและทักษะของ

ผู้ที่จะออกรอบ

9. กิตติกรรมประกาศ

การศึกษาครั้งนี้ จะสำเร็จลุล่วงมิได้ หากไม่ได้รับความร่วมมือจากคณะอนุกรรมการทบทวนประเภทกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม กองสุขาภิบาลชุมชนและประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ กองสุขาภิบาลอาหารและน้ำ ที่ให้ข้อเสนอแนะและร่วมในการเก็บข้อมูล รวมทั้งความกรุณาของ นายศุมล ศรีสุขวัฒนา หัวหน้ากลุ่มบริหารกฎหมายสาธารณสุข และ นางสาวสิริวรรณ จันทนจุลกะ ผู้อำนวยการกองสุขาภิบาลชุมชนและประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ ซึ่งได้ให้คำปรึกษาและให้กำลังใจมาโดยตลอด จึงขอกราบขอบพระคุณทุกท่านที่มีส่วนร่วมในการศึกษาครั้งนี้

10. เอกสารอ้างอิง

ครอบจักร งามมีศรี , Case Study : กรณีศึกษาปัญหาวงการกีฬากอล์ฟ “ คดีความ อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในกีฬากอล์ฟที่น่าสนใจ” http://www.smartgolf.co.th/NO.31-Page.42(1).html 30 June 2005.

ศาสตราจารย์ ดร.สุทัศน์ ยกส้าน , วิทยาศาสตร์น่ารู้ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet6/envi3/who/golf.htm 29 June 2005.

นายแพทย์วีระยุทธ เชาว์ปรีชา , Golf Injury : กลุ่มอาการปวดชา บริเวณข้อศอก นิ้วนาง นิ้วก้อย ( Cubital Tunnel Syndrome ) http://smartgolf.co.th/NO.35-Page.62(1).html 30 June 2005.

“ Threats to Water Quality Posed by the Proposed PGA Village Development”.

http://www.nopga.com/pages-water quality.htm 14 July 2005.

Attorney General of New York , New York State , Office of New York State Attorney General

Environmental Protection Bureau. “Toxic Fairways:Risk Groudwater Contamination from

Presticides on Long Island Golf Courses”. http://www.oag.state.ny.us/environment/golf95.html 7 July 2005.

“Sport and Environment:Thailand’s Golf Boom”. http://www.cenotes.com/save/ingles/thailand.html

13 July 2005

Chris Syrengelas. “Golf and the Environment”.

http://darwin.bio.uci.edu/-sustain/global/sensem/syrengelas97.html. 13 July 2005.

11. การเผยแพร่

1) นำเสนอผลการศึกษาต่อคณะกรรมการสาธารณสุข คณะกรรมาธิการการกีฬา วุฒิสภา และเลขาธิการนายกรัฐมนตรี

2) เผยแพร่ทางเว็บไซด์ของกลุ่มบริหารกฎหมายสาธารณสุข กรมอนามัย

3) เผยแพร่ในวารสารอนามัยสิ่งแวดล้อม ปีที่ 10 ฉบับที่ 4 กรกฎาคม – กันยายน 2551

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ที่ 5/2538 เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ

clip_image002

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข

ที่ 5 / 2538

เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ

------------------------------

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 และมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข โดยคำแนะนำของคณะกรรมการสาธารณสุข ประกาศให้กิจการดังต่อไปนี้ เป็นกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ

1. กิจการที่เกี่ยวกับการเลี้ยงสัตว์

(1) การเลี้ยงสัตว์บก สัตว์ปีก สัตว์น้ำ สัตว์เลื้อยคลานหรือแมลง

(2) การเลี้ยงสัตว์เพื่อรีดเอานม

(3) การประกอบกิจการเลี้ยง รวบรวมสัตว์ หรือธุรกิจอื่นใดอันมีลักษณะทำนองเดียวกัน เพื่อให้ประชาชนเข้าชมหรือเพื่อประโยชน์ของกิจการนั้น ทั้งนี้ จะมีการเรียกเก็บค่าดูหรือค่าบริการไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมหรือไม่ก็ตาม

2. กิจการที่เกี่ยวกับสัตว์และผลิตภัณฑ์

(1) การฆ่าสัตว์ ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร การเร่ขาย การขายในตลาดและการฆ่าเพื่อบริโภคในครัวเรือน

(2) การฟอกหนังสัตว์ ขนสัตว์ การสะสมหนังสัตว์ ขนสัตว์ที่ยังมิได้ฟอก

(3) การสะสมเขาสัตว์ กระดูกสัตว์ที่ยังมิได้แปรรูป

(4) การเคี่ยวหนังสัตว์ เอ็นสัตว์ ไขสัตว์

(5) การต้ม การตาก การเผาเปลือกหอย เปลือกปู เปลือกกุ้ง ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร การเร่ขาย และการขายในตลาด

(6) การประดิษฐ์เครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ จากเปลือกหอย กระดูกสัตว์ เขาสัตว์ หนังสัตว์ ขนสัตว์ หรือส่วนอื่น ๆ ของสัตว์

(7) การผลิต การโม่ การป่น การบด การผสม การบรรจุ การสะสม หรือการกระทำอื่นใดต่อสัตว์หรือพืช หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของสัตว์หรือพืชเพื่อเป็นอาหารสัตว์

(8) การสะสมหรือการล้างครั่ง

-2-

3. กิจการที่เกี่ยวกับอาหาร เครื่องดื่ม น้ำดื่ม

(1) การผลิตเนย เนยเทียม

(2) การผลิตกะปิ น้ำพริกแกง น้ำพริกเผา น้ำปลา น้ำเคย น้ำบูดู ไตปลา เต้าเจี้ยว ซีอิ้ว หอยดอง หรือซอสปรุงรสอื่น ๆ ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน

(3) การผลิต การหมัก การสะสมปลาร้า ปลาเจ่า กุ้งเจ่า ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน

(4) การตากเนื้อสัตว์ การผลิตเนื้อสัตว์เค็ม การเคี่ยวมันกุ้ง ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน

(5) การนึ่ง การต้ม การเคี่ยว การตาก หรือวิธีอื่นใดในการผลิตอาหารจากสัตว์ พืช ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร การเร่ขาย การขายในตลาด และการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน

(6) การเคี่ยวน้ำมันหมู การผลิตกุนเชียง หมูยอ ไส้กรอก หมูตั้ง ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร การเร่ขาย การขายในตลาด และการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน

(7) การผลิตเส้นหมี่ ขนมจีน ก๋วยเตี๋ยว เต้าฮวย เต้าหู้ วุ้นเส้น เกี้ยมอี๋

(8) การผลิตแบะแซ

(9) การผลิตอาหารบรรจุกระป๋อง ขวด หรือภาชนะอื่นใด

(10) การประกอบกิจการการทำขนมปังสด ขนมปังแห้ง จันอับ ขนมเปี๊ยะ

(11) การแกะ การล้างสัตว์น้ำ ที่ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของกิจการห้องเย็น ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน

(12) การผลิตน้ำอัดลม น้ำหวาน น้ำโซดา น้ำถั่วเหลือง เครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ บรรจุกระป๋อง ขวดหรือภาชนะอื่นใด บกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน

(13) การผลิต การแบ่งบรรจุน้ำตาล

(14) การผลิตผลิตภัณฑ์จากน้ำนมวัว

(15) การผลิต การแบ่งบรรจุเอททิลแอลกอฮอล์ สุรา เบียร์ น้ำส้มสายชู

(16) การคั่วกาแฟ

(17) การผลิตลูกชิ้นด้วยเครื่องจักร

(18) การผลิตผงชูรส

(19) การผลิตน้ำกลั่น น้ำบริโภค

(20) การตาก การหมัก การดองผัก ผลไม้ หรือพืชอย่างอื่น ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน

(21) การผลิต การบรรจุใบชาแห้ง ชาผงหรือเครื่องดื่มชนิดผงอื่น ๆ

(22) การผลิตไอศกรีม ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน

(23) การผลิตบะหมี่ มักกะโรนี หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน

(24) การประกอบกิจการห้องเย็น แช่แข็งอาหาร

(25) การผลิตน้ำแข็ง ยกเว้นการผลิตเพื่อใช้ในสถานที่จำหน่ายอาหารและเพื่อการบริโภคในครัวเรือน

-3-

(26) การเก็บ การถนอมอาหารด้วยเครื่องจักรที่มีกำลังตั้งแต่ 5 แรงม้าขึ้นไป

4. กิจการที่เกี่ยวกับยา เวชภัณฑ์ อุปกรณ์การแพทย์ เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์ชำระล้าง

(1) การผลิต การโม่ การบด การผสม การบรรจุยาด้วยเครื่องจักร

(2) การผลิต การบรรจุยาสีฟัน แชมพู ผ้าเย็น กระดาษเย็น เครื่องสำอางต่าง ๆ

(3) การผลิตสำลี ผลิตภัณฑ์จากสำลี

(4) การผลิตผ้าพันแผล ผ้าปิดแผล ผ้าอนามัย ผ้าอ้อมสำเร็จรูป

(5) การผลิตสบู่ ผงซักฟอก ผลิตภัณฑ์ชำระล้างต่าง ๆ

5. กิจการที่เกี่ยวกับการเกษตร

(1) การอัด การสกัดเอาน้ำมันจากพืช

(2) การล้าง การอบ การรม การสะสมยางดิบ

(3) การผลิตแป้งมันสำปะหลัง แป้งสาคูหรือแป้งอื่น ๆ ในทำนองเดียวกันด้วยเครื่องจักร

(4) การสีข้าวด้วยเครื่องจักร

(5) การผลิตยาสูบ

(6) การขัด การกระเทาะ การบดเมล็ดพืช การนวดข้าวด้วยเครื่องจักร

(7) การผลิต การสะสมปุ๋ย

(8) การผลิตใยมะพร้าวหรือวัตถุคล้ายคลึงด้วยเครื่องจักร

(9) การตาก การสะสมหรือการขนถ่ายมันสำปะหลัง

6. กิจการที่เกี่ยวกับโลหะหรือแร่

(1) การผลิตโลหะเป็นภาชนะ เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์หรือเครื่องใช้ต่าง ๆ

(2) การหลอม การหล่อ การถลุงแร่หรือโลหะทุกชนิด ยกเว้นกิจการใน (1)

(3) การกลึง การเจาะ การเชื่อม การตี การตัด การประสาน การรีด การอัดโลหะด้วยเครื่องจักรหรือก๊าซหรือ ไฟฟ้า ยกเว้นกิจการใน (1)

(4) การเคลือบ การชุบโลหะด้วยตะกั่ว สังกะสี ดีบุก โครเมี่ยม นิเกิลหรือโลหะอื่นใด ยกเว้นกิจการใน (1)

(5) การขัด การล้างโลหะด้วยเครื่องจักร สารเคมี หรือวิธีอื่นใด ยกเว้นกิจการใน (1)

(6) การทำเหมืองแร่ การสะสม การแยก การคัดเลือกหรือการล้างแร่

7. กิจการที่เกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกล

(1) การต่อ การประกอบ การเคาะ การปะผุ การพ่นสี การพ่นสารกันสนิมยานยนต์

(2) การตั้งศูนย์ถ่วงล้อ การซ่อม การปรับแต่งระบบปรับอากาศหรืออุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกล

-4-

(3) การประกอบธุรกิจเกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกล ซึ่งมีไว้บริการหรือจำหน่าย และในการประกอบธุรกิจนั้นมีการซ่อมหรือปรับปรุงยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกลดังกล่าวด้วย

(4) การล้าง การอัดฉีดยานยนต์

(5) การผลิต การซ่อม การอัดแบตเตอรี่

(6) การปะ การเชื่อมยาง

(7) การอัดผ้าเบรค ผ้าครัช

8. กิจการที่เกี่ยวกับไม้

(1) การผลิตไม้ขีดไฟ

(2) การเลื่อย การซอย การตัด การไส การเจาะ การขุดร่อง การทำคิ้ว หรือการตัดไม้ด้วยเครื่องจักร

(3) การประดิษฐ์ไม้ หวายเป็นสิ่งของด้วยเครื่องจักร หรือการพ่น การทาสารเคลือบเงาสี หรือการแต่งสำเร็จผลิตภัณฑ์จากไม้หรือหวาย

(4) การอบไม้

(5) การผลิตธูปด้วยเครื่องจักร

(6) การประดิษฐ์สิ่งของ เครื่องใช้ เครื่องเขียนด้วยกระดาษ

(7) การผลิตกระดาษต่าง ๆ

(8) การเผาถ่าน หรือการสะสมถ่าน

9. กิจการที่เกี่ยวกับการบริการ

(1) การประกอบกิจการอาบ อบ นวด

(2) การประกอบกิจการสถานที่อาบน้ำ อบไอน้ำ อบสมุนไพร

(3) การประกอบกิจการโรงแรมหรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน

(4) การประกอบการกิจการหอพัก อาคารชุดให้เช่า ห้องเช่า ห้องแบ่งเช่า หรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน

(5) การประกอบกิจการโรงมหรสพ

(6) การจัดให้มีการแสดงดนตรี เต้นรำ รำวง รองแง็ง ดิสโก้เทค คาราโอเกะ หรือการแสดงอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน

(7) การประกอบกิจการสระว่ายน้ำ หรือกิจการอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน

(8) การจัดให้มีการเล่นสเก็ตโดยมีแสงหรือเสียงประกอบ หรือการเล่นอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน

(9) การประกอบกิจการเสริมสวยหรือแต่งผม เว้นแต่กิจการที่อยู่ในบังคับตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบวิชาชีพเวชกรรม

-5-

(10) การประกอบกิจการให้บริการควบคุมน้ำหนัก โดยวิธีการควบคุมทางโภชนาการ ให้อาหารที่มีวัตถุประสงค์พิเศษ การบริหารร่างกาย หรือโดยวิธีอื่นใด เว้นแต่การให้บริการดังกล่าวในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล

(11) การประกอบกิจการสวนสนุก ตู้เกม

(12) การประกอบกิจการห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ การสาธารณสุข วิทยาศาสตร์ หรือสิ่งแวดล้อม

(13) การประกอบกิจการสนามกอล์ฟหรือสนามฝึกซ้อมกอล์ฟ

10. กิจการที่เกี่ยวกับสิ่งทอ

(1) การปั่นด้าย การกรอด้าย การทอผ้าด้วยเครื่องจักร หรือการทอผ้าด้วยกี่กระตุกตั้งแต่ 5 กี่ขึ้นไป

(2) การสะสมปอ ป่าน ฝ้ายหรือนุ่น

(3) การปั่นฝ้ายหรือนุ่นด้วยเครื่องจักร

(4) การทอเสื่อ กระสอบ พรม หรือสิ่งทออื่น ๆ ด้วยเครื่องจักร

(5) การเย็บผ้าด้วยเครื่องจักรตั้งแต่ 5 เครื่องขึ้นไป

(6) การพิมพ์ผ้า หรือการพิมพ์บนสิ่งทออื่น ๆ

(7) การซัก การอบ การรีด การอัดกลีบผ้าด้วยเครื่องจักร

(8) การย้อม การกัดสีผ้าหรือสิ่งทออื่น ๆ

11. กิจการที่เกี่ยวกับหิน ดิน ทราย ซีเมนต์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง

(1) การผลิตภาชนะดินเผาหรือผลิตภัณฑ์ดินเผา

(2) การระเบิด การโม่ การป่นหินด้วยเครื่องจักร

(3) การผลิตเครื่องใช้ด้วยซีเมนต์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง

(4) การสะสม การผสมซีเมนต์ หิน ทราย หรือวัตถุที่คล้ายคลึง

(5) การเจียระไนเพชร พลอย หิน กระจก หรือวัตถุที่คล้ายคลึง

(6) การเลื่อย การตัด หรือการประดิษฐ์หินเป็นสิ่งของต่าง ๆ

(7) การผลิตชอล์ค ปูนปาสเตอร์ ปูนขาว ดินสอพอง หรือการเผาหินปูน

(8) การผลิตผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบหรือส่วนผสม เช่น ผ้าเบรค ผ้าครัช กระเบื้องมุงหลังคา กระเบื้องยาง ฝ้าเพดาน ท่อน้ำ เป็นต้น

(9) การผลิตกระจกหรือผลิตภัณฑ์แก้ว

(10) การผลิตกระดาษทราย

(11) การผลิตใยแก้วหรือผลิตภัณฑ์จากใยแก้ว

-6-

12. กิจการที่เกี่ยวกับปิโตรเลี่ยม ถ่านหิน สารเคมี

(1) การผลิต การบรรจุ การสะสม การขนส่งกรด ด่าง สารออกซิไดส์ หรือสารตัวทำละลาย

(2) การผลิต การบรรจุ การสะสม การขนส่งก๊าซ

(3) การผลิต การกลั่น การสะสม การขนส่งน้ำมันปิโตรเลี่ยมหรือผลิตภัณฑ์ปิโตรเลี่ยมต่าง ๆ

(4) การผลิต การสะสม การขนส่งถ่านหิน ถ่านโค้ก

(5) การพ่นสี ยกเว้นกิจการใน 7 (1)

(6) การประดิษฐ์สิ่งของเครื่องใช้ด้วยยาง ยางเทียม พลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง

(7) การโม่ การบดชัน

(8) การผลิตสีหรือน้ำมันผสมสี

(9) การผลิต การล้างฟิล์มรูปถ่ายหรือฟิล์มภาพยนต์

(10) การเคลือบ การชุบวัตถุด้วยพลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์หรือวัตถุที่คล้ายคลึง

(11) การผลิตพลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์หรือวัตถุที่คล้ายคลึง

(12) การผลิต การบรรจุสารเคมีดับเพลิง

(13) การผลิตน้ำแข็งแห้ง

(14) การผลิต การสะสม การขนส่งดอกไม้เพลิงหรือสารเคมีอันเป็นส่วนประกอบในการผลิตดอกไม้เพลิง

(15) การผลิตแชลแล็คหรือสารเคลือบเงา

(16) การผลิต การบรรจุ การสะสม การขนส่งสารกำจัดศัตรูพืชหรือพาหะนำโรค

(17) การผลิต การบรรจุ การสะสมกาว

13. กิจการอื่น ๆ

(1) การพิมพ์หนังสือหรือสิ่งพิมพ์อื่นที่มีลักษณะเดียวกันด้วยเครื่องจักร

(2) การผลิต การซ่อมเครื่องอิเลคโทรนิคส์ เครื่องไฟฟ้า อุปกรณ์อิเลคโทรนิคส์ อุปกรณ์ไฟฟ้า

(3) การผลิตเทียน เทียนไขหรือวัตถุที่คล้ายคลึง

(4) การพิมพ์แบบ พิมพ์เขียว หรือการถ่ายเอกสาร

(5) การสะสมวัตถุหรือสิ่งของที่ชำรุด ใช้แล้วหรือเหลือใช้

(6) การประกอบกิจการโกดังสินค้า

(7) การล้างขวด ภาชนะหรือบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้ว

(8) การพิมพ์สีลงบนวัตถุที่มิใช่สิ่งทอ

(9) การก่อสร้าง

-7-

ทั้งนี้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

ประกาศ ณ วันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2538

อาทิตย์ อุไรรัตน์

(นายอาทิตย์ อุไรรัตน์)

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข

สำเนาถูกต้อง

ศุมล ศรีสุขวัฒนา

(นายศุมล ศรีสุขวัฒนา)

ผู้อำนวยการศูนย์บริหารกฎหมายสาธารณสุข

ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 112 ตอนที่ 58 ลงวันที่ 20 กรกฎาคม 2538