...

รับว่าความ คดีอาญา คดีแพ่ง คดีปกครอง คดีทั่วไป รับทำบัญชี ทั่วราชอาญาจักร
ติตต่อ เบอร์โทร 0-2513-1833
แฟกซ์ 0-2930-2752
อีเมล์แอดเดรส
sutthirojlaw@hotmail.com

วันอาทิตย์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ประวัติเพลงไทดำรำพัน

                  ที่มาจาก http://gotoknow.org/blog/2etc/219803
                  กิเลน ประลองเชิง เขียนบทความที่ชื่อ ทางกลับเมืองลอ

                ลงในคอลัมน์ ชักธงรบ หนังสือพิมพ์ ไทยรัฐ ฉบับวันที่  30 ตุลาคม 2551 ความว่า
"ประวัติศาสตร์ไทดำ ค้นคว้าและเขียน โดย คุณบรรจง ชัชวาลชัยทรัพย์ คนเชื้อสายไทดำ ท้าวสรวง อพยพจากน่านเจ้า มาลงหลักปักฐานอยู่ที่เมืองลอ ครับ ภูมิประเทศที่เรียกว่าสิบสองจุไท ส่วนใหญ่เป็นขุนเขา จนเรียกว่าแผ่นดินแห่งขุนเขาหมื่นยอด มีพื้นที่ราบกว้างใหญ่ ทำนาได้ 100% อยู่สี่แห่ง ทุ่งเมืองลอ ทุ่งเมืองถาน ทุ่งเมืองเติ๊ก และทุ่งเมืองแถง แม้ทุ่งเมืองแถงจะใหญ่กว่า แต่รวมทั้งเมืองถาน เมืองเติ๊ก ก็ต้องขึ้นกับเมืองลอ ถิ่นฐานบ้านเดิมของไทดำที่เป็นศูนย์กลาง ต่อมาในสมัยลูกขุนลอ ชื่อล้านเจื้อง ปกครองเมืองแถง ทุกเมืองในสิบสองจุไท ก็เปลี่ยนมาขึ้นกับเมืองแถง วันเวลาผ่านไป จนถึงสมัยที่ดินแดนแถบนั้น อยู่ในปกครองของฝรั่งเศส และกำลังถูก โฮจิมินห์ ต่อต้าน ฝรั่งเศสจัดตั้งแนวร่วมต่อต้านโฮจิมินห์ รวบรวมรัฐไทดำไทขาว 16 แห่ง ตั้งสหพันธรัฐไต เรียกภาษาไทดำ 16 เจ้าไต แล้วให้ แดววันลอง ผู้นำไทขาว เมืองไลเจา เป็นประธานาธิบดี ฝ่ายโฮจิมินห์ ก็แก้ลำ ด้วยการเกลี้ยกล่อมไทดำ ไทขาว เข้าเป็นพวก สองฝ่ายใช้เงื่อนไขเดียวกัน ว่าทันทีที่ชนะ จะแยกดินแดนให้ไทดำไทขาวปกครอง นับแต่นั้น ไทดำ ไทขาวก็แตกออกเป็นสองพวก จับอาวุธหันมาฆ่าฟันกันเอง ผลบั้นปลายใน สมรภูมิเดียนเบียนฟู ฝ่าย โฮจิมินห์ชนะจับเชลยไทดำ ไทขาวที่เข้าข้างฝรั่งเศสไปฆ่าถึง 4,500 คน ส่วนไทดำ ไทขาวฝ่ายโฮจิมินห์ ระดับผู้นำก็ได้รับตำแหน่งสำคัญ ส่วนเรื่องสัญญา ชนะแล้วจะให้ปกครองดินแดน โฮจิมินห์ทำเป็นลืม ผนวกเอาดินแดน 16 เจ้าไต รวมกับดินแดนเวียดนาม นับแต่วันนั้น ปี พ.ศ.2497 ดินแดน 16 เจ้าไต ก็หายไปจากแผนที่โลก หายไปจากความทรงจำของชาวโลก ปี 2512 ไทดำที่ลี้ภัยไปอยู่ลาว แต่งเพลงไทดำรำพัน เนื้อเพลงท่อนแรก “15 ปีที่ไทดำ ห่างแดนดิน จงอินดู หมู่ข้าน้อย ที่พอยพาก บ้าน เฮาคนไท ย้ายกันไป ทุกถิ่นทุกถาน จงฮักกันเนอ ไทดำเฮาเนอ” บรรจง เล่าเรื่องไทดำไว้มาก แต่ผมจับใจ พิธีการก่อนตาย ไทดำ ในไทย ในลาว หรือทุกแห่งในโลก จะถูกสั่งสอนให้ให้รู้จักพิธีบอกวิญญาณ ให้รู้จักเส้นทาง กลับสู่แผ่นดินแม่ ไทดำที่อยู่ในสหรัฐฯ หรืออิตาลี จะถูกบอกให้ขึ้นเครื่องบินมาลงดอนเมือง หารถต่อไปถึงวัดเนินพระเนาว์ ข้ามฝั่งโขงเมืองหนองคาย...แล้วก็ลัดเลาะแต่ละเมืองไปเรื่อยๆจนกว่าจะถึงเมืองลอ สภาพของเมืองลอ น่าจะเป็นเมืองในเนื้อเพลงไทดำท่อน 3 รำพันว่า “เฮือนเคยอยู่ อู่เคยนอน ต้องจรจำลา ปะไฮ ปะนา น้ำตาไทไหล” คุณบรรจง ทิ้งท้ายให้คิด เพราะไทดำ ไทขาว ไร้รักสามัคคี แตกแยกกันเอง เป็นเหยื่อคำหลอกล่อของฝรั่งเศสและญวน เป็นเหตุแห่งการสิ้นชาติสิ้นแผ่นดิน ผมอ่านเรื่องที่คุณบรรจงเขียนแล้วก็เศร้าลึกๆ...ตอนยังมีชีวิต คิดถึงบ้าน ร้องเพลงไทดำรำพัน ตอนตาย ก็ยังต้องช่วยกันบอกหนทางให้วิญญาณ กลับบ้านเก่าถิ่นเกิด แต่ดูแล้วไทดำยังน่าเวทนาน้อยกว่าคนไทยที่ตั้งท่ารบกันในวันนี้ เพราะยังไม่มีเพลงไว้ร้อง ไม่มีพิธีบอกทางกลับบ้าน ก่อนตาย ยังไม่รู้ด้วยซ้ำ เขาทำอะไรกัน" (1)
สำหรับประวัติ เพลงไทดำรำพัน นั้น ศาสตราจารย์ ดร. สมทรง บุรุษพัฒน์ ได้เขียนถึงประวัติ ของเพลงไทดำรำพันไว้ในหนังสือ สารานุกรมกลุ่มชาติพันธ์ไทยโซ่ง  ความว่า
"เพลงไทดำรำพัน โด่งดังในปี พ.ศ. 2513-2514 ซึ่งในระยะต่อมาได้มีนักร้องรุ่นหลังนำมาขับร้องใหม่หลายคน ซึ่งล้วนได้รับความนิยมจากประชาชน ถึงแม้ว่าจะมีข้อกังขาว่า ทำไมไทดำถึงต้องรำพัน ซึ่งก็ยังไม่มีคำตอบที่ชัดเจนไม่ได้ และดูเหมือนว่าบรรดานักเพลงและนักประวัติศาสตร์จะเป็นเส้นขนานกัน จึงได้แต่สันนิษฐานโดยการเอาประวัติศาสตร์กับเพลงมาต่อกัน ผู้ทีขับร้องเพลง ไทดำรำพัน เป็นคนแรกคือ ก. วิเสส มีชื่อจริงว่า กันตัง ราดปากดี ซึ่งอาจจะเขียนว่า กันตัง ราษฎร์ปากดี ก็ได้ มีถิ่นกำเนิดที่บ้านสีไค เมืองศรีโคตรบอง กำแพงนครเวียงจันท์ ประเทศลาว หลังจากที่จบ ป. 4 ท้าวกันตังได้ไปสมัครเป็นทหารอากาศ สังกัดหน่วยพลร่ม ต่อมาได้พบกับ พันเอกแพง เกี้ยวสุวัติ ซึ่งมีฉายาว่า หมีดำ [คุณเจนภพว่า ฉายาหมีดำ คือ พันเองแพง เกี้ยวสุวัติ แต่ครูทินกร ทิพยมาศ ว่าคือฉายาของ สนอง อุ่นวงศ์] ผู้ก่อตั้งวงดนตรีราบอากาศวังเวียง ได้ชักชวนท้าวกันตังมาร้องเพลงในวงดนตรีราบอากาศวังเวียงด้วย ซึ่งได้สร้างชื่อเสียงให้กับ ก.วิเสส อย่างมาก กระทั่งต้องยกทั้งวงดนตรีข้ามโขงมาอัดเสียงที่ห้องอัดกมลสุโกศล กรุงเทพฯ เพราะระบบการอัดเสียงที่ประเทศลาวยังไม่ดีพอ และเพลงของ ก.วิเสส ก็โด่งดังข้ามมาถึงเมืองไทยในปลายปี 2513 ถึงปี 2514  เพลงที่ได้รับความนิยมมากคือ ไทดำรำพัน และ ชังคนหลายใจ ผู้ที่แต่งเพลงนี้ก็คือ “หมีดำ” ซึ่งต่อมาได้ถึงแก่กรรม เพราะเฮลิคอปเตอร์ตก [ครูทินกร ทิพยมาศ บอกว่า ปัจจุบันไปอยู่อเมริกา] จึงไม่สามารถที่จะทราบได้ว่า อะไรเป็นเหตุจูงใจให้ “หมีดำ” แต่งเพลงนี้ จึงได้แต่เพียงสันนิษฐานตามประวัติศาสตร์ของไทดำ ว่าน่าจะมีสาเหตุมาจากการอพยพโยกย้ายถิ่นของไทดำ ที่อาศัยอยู่อย่างหนาแน่นในเมืองแถงหรือเดียนเบียนฟู (2)
อ้างอิง
(1) กิเลน ประลองเชิง (นามแฝง). ทางกลับเมืองลอ. หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ คอมลัมน์ ชักธงรบ ประจำวันที่ 30 ตุลาคม 2551 [cited 2008 October 30]. Available from: http://thairath.co.th/news.php?section=politics02&content=109404
(2) สมทรง บุรุษพัฒน์. สารานุกรมกลุ่มชาติพันธ์ ไทยโซ่ง.--พิมพ์ครั้งที่ 1.--นครปฐม : สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล, 2540.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

คำแนะนำในการแสดงความคิดเห็น

เชิญให้ความคิดเห็นได้ครับ
แล้วกรุณา ลงชื่อท่านใต้ข้อความของท่านด้วยนะครับ
แล้วเลือก แสดงความคิดเห็นในฐานะ
เป็นประเภท "ไม่ระบุชื่อ"
ท่านจึงจะสามารถแสดงความคิดเห็นได้