...

รับว่าความ คดีอาญา คดีแพ่ง คดีปกครอง คดีทั่วไป รับทำบัญชี ทั่วราชอาญาจักร
ติตต่อ เบอร์โทร 0-2513-1833
แฟกซ์ 0-2930-2752
อีเมล์แอดเดรส
sutthirojlaw@hotmail.com

วันพุธที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ภาคธุรกิจที่มี CSR ได้โอกาสก้าวสู่เจเนอเรชั่นใหม่

รัฐหนุน SE ธุรกิจแบบใหม่ คลัง-บีโอไอจ่อช่วยลดภาษี
18 พฤศจิกายน 2553 13:24 น.

*รัฐเดินหน้าผลักดัน “กิจการเพื่อสังคม” เต็มที่
*คลังจับมือบีโอไอ เตรียมมาตรการภาษีจูงใจให้เกิด Social Enterprise
*อภิรักษ์เดินหน้าดึงตลาดเงิน-ตลาดทุน อีกทั้งกรอ.หนุน
*ภาคธุรกิจที่มี CSR ได้โอกาสก้าวสู่เจเนอเรชั่นใหม่
       ประเทศไทยกำลังจะมีนิติบุคคลประเภทใหม่ที่จดทะเบียนประเภท “กิจการเพื่อสังคม” หรือ Social Enterprise และรัฐบาลเตรียมออกมาตรการสนับสนุนและส่งเสริมให้มีกิจการธุรกิจประเภทใหม่ที่ทำประโยชน์เพื่อสังคมอย่างเต็มที่
       ความเคลื่อนไหวดังกล่าวเมื่อเกิดผลสำเร็จก็จะเป็นผลงานเด่นชิ้นสำคัญในการสร้างพลังผนึกนโยบายรัฐกับความสามารถเชิงบริหารของภาคธุรกิจที่จะขับเคลื่อนการผลิตสินค้า และบริการที่มีคุณค่าต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างเต็มเปี่ยม
ยกระดับCSR ไปอีกขั้น
       ขณะเดียวกันนี่เป็นการยกระดับไปถึงขั้นจัดตั้งบริษัทเพื่อธุรกิจอย่างมีกำไรแต่มุ่งเพื่อประโยชน์ของสังคมและสิ่งแวดล้อม จึงต่างจากธุรกิจทั่วไปที่แม้จะเริ่มเป็นกระแสที่มีการแสดงจุดยืนการดำเนินกิจการ หรือมีกิจกรรมส่งเสริมสังคมและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
       อภิรักษ์ โกษะโยธิน ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ในฐานะรองประธานคณะกรรมการสร้างเสริมกิจการเพื่อสังคมแห่งชาติ ให้สัมภาษณ์ “ผู้จัดการ 360 องศา รายสัปดาห์” ว่า เพื่อส่งเสริมให้มีการจัดตั้งกิจการเพื่อสังคม จำเป็นต้องมีมาตรการจูงใจแก่ภาคธุรกิจที่จะลงทุนเพื่อการนี้
       “กิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise) นับเป็นวิวัฒนาการอีกขั้นหนึ่งต่อจากการมีความรับผิดชอบต่อสังคม (Social Responsibility) ซึ่งในระยะหลังได้มีองค์กรที่คำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม หรือมี CSR มากกว่าในอดีตที่ธุรกิจจะเน้นการแสวงหากำไรสูงสุด”
       อภิรักษ์ กล่าวว่า วิกฤติทางเศรษฐกิจและภัยธรรมชาติ ซึ่งเป็นผลจากปัญหาสิ่งแวดล้อม และภาวะโลกร้อน จึงเป็นโอกาสให้เกิดความตระหนกที่จะไม่เน้นการสร้างเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างเดียว แต่ต้องพัฒนาให้เกิดความสมดุลทั้งเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
       การจัดตั้งคณะกรรมการสร้างเสริมกิจการเพื่อสังคมแห่งชาติเมื่อเดือนพฤษภาคม 2553 ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และมีสำนักกงานบริหารอย่างจริงจังจึงเป็นหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงระดับนโยบายของประเทศที่มีเป้าหมายเพื่อสร้างการรับรู้และส่งเสริมให้เกิดกิจการเพื่อสังคม และพัฒนาขีดความสามารถของกิจการเพื่อสังคม เช่น มาตรการทางภาษี และกฏหมาย และการสร้างการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของกิจการเพื่อสังคม
ครม.เศรษฐกิจเห็นชอบหลักการ
       เช้าวันที่ 15 พฤศจิกายนที่ผ่านมา คณะกรรมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจได้ประชุมพิจารณาการส่งเสริมกิจการเพื่อสังคม ตามที่สำนักงานสร้างเสริมกิจการเพื่อสังคมแห่งชาติ (สกส.) ซึ่งข้อเสนอประกอบด้วย
       1.หลักเกณฑ์การจดทะเบียนกิจการเพื่อสังคม และมาตรการส่งเสริมกิจการเพื่อสังคม
       2.แนวทางการดำเนินงาน โดยกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise) หมายถึงกิจการที่ภาคเอกชนหรือภาคประชาชนเป็นเจ้าของ มีรายรับจากการขาย การผลิต หรือการให้บริการ ซึ่งมิได้มีเป้าหมายที่จะสร้างกำไรสูงสุดต่อผู้ถือหุ้นและเจ้าของ และมีลักษณะพิเศษ อาทิ กระบวนการผลิต การดำเนินกิจการ ไม่ก่อให้เกกิดผลเสียต่อเนื่องในระยะยาวต่อสังคม สุขภาวะ และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งมีการกำกับดุแลกิจการที่ดี และมีความยั่งยืนทางการเงินได้ด้วยตนเอง ตลอดจนมีการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้
       คณะกรรมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจ มีความเห็นว่า เรื่องนี้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลในการส่งเสริมกิจการเพื่อสังคม อย่างไรก็ตาม สกส.จำเป็นต้องกำหนดหลักเกณฑ์การพิจาณณาหรือนิยามของกิจการในลักษณะดังกล่าวที่ชัดเจน เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปพิจารณาในรายละเอียดการส่งเสริมหรือสนับสนุนในด้านต่างๆในอนาคตมีความเหมาะสมและชัดเจน
       ทั้งนี้ เพื่อให้มีความแตกต่างจากการสนับสนุนการทำ CSR กับการสนับสนุนกิจการเพื่อสาธารณะประโยชน์ (NGO) รวมทั้งควรมีกลไกในการตรวจสอบการดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการส่งเสริม “กิจการเพื่อสังคม”
       ที่ประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจ ได้มีมติเห็นชอบหลักเกณฑ์การจดทะเบียนกิจการเพื่อสังคม โดยมอบหมายให้ สกส.ปรับปรุงในรายละเอียดของนิยามให้ชัดเจนตามความเห็นของที่ประชุม รวมทั้งให้มีกลไกการตรวจสอบการดำเนินการ
       ทั้งนี้ ให้ สกส. หารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในกการกำหนดแนวทางการดำเนินงาน รวมทั้งมาตรการสนับสนุนและส่งเสริมกิจการเพื่อสังคมต่อไป
คลังเตรียมหนุนมาตรการภาษี
       ทั้งนี้เป็นผลต่อเนื่องจากการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมกิจการเพื่อสังคม ซึ่งมีนายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นประธาน เมื่อเร็วๆนี้ ที่ประชุมมีมติให้กระทรวงการคลัง คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน และหน่วยงานราชการอื่นๆ เร่งพัฒนามาตรการเพื่อเข้าคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจในครั้งนี้ โดยมอบกระทรวงการคลังให้เตรียมทำมาตรการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีกับนักลงทุนเพื่อสังคม การยกระดับองค์กรการเงินชุมชนให้เป็นสถาบันการเงินเพื่อการพัฒนาชุมชน เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจในระดับท้องถิ่นเพื่อสร้างความยั่งยืนในสังคม
       ที่ประชุมมีมติให้นำเสนอนโยบายตามยุทธศาสตร์สร้างเสริมกิจการเพื่อสังคมต่อคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจ ประกอบด้วย 2 เรื่องหลัก คือ
       1.พัฒนาแบบและขีดความสามารถกิจการเพื่อสังคม ผ่านการพัฒนาศูนย์บ่มเพาะกิจการเพื่อสังคม และการพัฒนาระบบเศรษฐกิจท้องถิ่นเพื่อสังคมยั่งยืน ซึ่งนำไปสู่การลดความเหลื่อมล้ำทางรายได้ทั้งในเชิงพื้นที่ พร้อมสร้างกลุ่มเศรษฐกิจเพื่อประโยชน์ชุมชน เช่น การท่องเที่ยวชุมชน กลุ่มการเงินชุมชน การค้าที่เป็นธรรม (Fair Trade) และ
       2.พัฒนาช่องทางเข้าถึงเงินทุนและทรัพยากร โดยเฉพาะการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีกับนักลงทุนเพื่อสังคม และการประสานกองทุนของรัฐที่มีอยู่แล้วมาลงทุนในกิจการเพื่อสังคมมากขึ้น
       คณะกรรมการยังมีมติให้รองประธาน อภิรักษ์ โกษะโยธิน นำเรื่องกิจการเพื่อสังคมเข้าที่ประชุม คณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ (กรอ.) เพื่อดึงภาคธุรกิจร่วมต่อยอดงาน CSR นำสู่การสนุบสนุนหรือจัดตั้งกิจการเพื่อสังคม ซึ่งเป็นการขยายความร่วมมือในการลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจที่เป็นรูปธรรม
เตรียมให้ BOI ช่วย
       อภิรักษ์ เปิดเผยว่า เพื่อส่งเสริมให้องค์กรเอกชนมีการลงทุนจัดตั้งกิจการเพื่อสังคม ซึ่งจะบริหารแบบมืออาชีพเชิงธุรกิจ แต่มีเป้าหมายเพื่อสังคมอย่างเต็มที่จึงสมควรมีมาตรการทางภาษีเป็นการส่งเสริมและจูงใจก็จะได้หารือกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ในการกำหนดธุรกิจประเภทใหม่ที่ได้สิทธิพิเศษทางภาษี
       ขณะเดียวกัน สกส. จะเป็นหน่วยงานทำหน้าที่ตรวจสอบคุณสมบัติของบริษัทที่จะเข้าเกณฑ์ได้รับการส่งเสริมด้วยมาตรการทางภาษี
       “กรมสรรพากรก็อาจมีการพิจารณาให้งดเว้นภาษีในช่วงเริ่มกิจการ หรือลดอัตราจัดเก็บภาษีนิติบุคคลให้ต่ำกว่าบริษัททั่วไป”
ให้ตลาดเงิน-ตลาดทุน หนุน
       นอกจากนี้ยังจะขอให้คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) ส่งเสริมให้บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์รวมทั้งกองทุนเพื่อการลงทุน มีการลงทุนในกิจการเพื่อสังคม และอาจส่งเสริมให้ธนาคารพาณิชย์ และธนาคารของรัฐสนับสนุนสินเชื่อด้วยการคิดอัตราดอกเบี้ยในอัตราต่ำ ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมสังคมทางหนึ่ง
       “ผมอยากเห็นบริษัทชั้นนำขนาดใหญ่ อย่างปตท. ปปูนซีเมนต์ไทย ที่ใช้งบประมาณช่วยเหลือสังคมเป็นจำนวนมากในแต่ละปี หากลงทุนจัดตั้งบริษัทประเภทกิจการเพื่อสังคมก็จะดำเนินการเลี้ยงตัวเองอย่างยั่งยืนได้ โดยไม่ต้องรอรับแต่การบริจาค”
เดินแนวอังกฤษ
       ยุคปัจจุบันธุรกิจในต่างประเทศทั้งในยุโรปและสหรัฐอเมริกาก็มีการจัดตั้งกิจการเพื่อสังคม ขณะที่ในเมืองไทยเราก็มีการดำเนินการในลักษณะกิจการเพื่อสังคมหลายรูปแบบ เช่น มีชัย วีระไวทยะ ซึ่งเริ่มจากสมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน ได้ต่อยอดขยายเครือข่ายเป็นกิจการเพื่อสังคมทั้งในรูปแบบภัตตาคาร ร้านอาหาร โรงแรม รีสอร์ท มีความมั่นคงและมีรายได้นำไปสร้างโรงเรียน และกิจกรรมพัฒนาการศึกษา และพัฒนาชุมชนได้อย่างกว้างขวาง
       อภิรักษ์ กล่าวว่า ในประเทศอังกฤษกำหนดระเบียบให้สามารถจ่ายเงินปันผลไม่เกิน 20% ของกำหรสุทธิอีก 80% ต้องนำกลับมาช่วยพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมตามความเหมาะสม ซึ่งประเทศไทยอาจใช้หลักการแบบนี้
       เมื่อมีมาตรการส่งเสริมหลายลักษณะจากภาครัฐตามแผนแม่บทส่งเสริมกิจการเพื่อสังคมดังกล่าวก็จะะมีส่วนในการส่งเสริมให้กิจการเพื่อสังคมเกิดและเติบโตได้มากขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

คำแนะนำในการแสดงความคิดเห็น

เชิญให้ความคิดเห็นได้ครับ
แล้วกรุณา ลงชื่อท่านใต้ข้อความของท่านด้วยนะครับ
แล้วเลือก แสดงความคิดเห็นในฐานะ
เป็นประเภท "ไม่ระบุชื่อ"
ท่านจึงจะสามารถแสดงความคิดเห็นได้